กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1095
ชื่อเรื่อง: การบริโภคแมกนีเซียมและแคลเซียมในน้ำและผลของสัดส่วนแมกนีเซียมและแคลเซียมต่อการเจริญเติบโต อัตราการรอด และระยะเวลาลอกคราบของกุ้งขาววัยรุ่น (Litopenaeus vannamei) ที่ความเค็ม 3 ระดับ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Ma and Ca consumption and effect of Mg: Ca ratio on growth, survival rate and molting period of juvenile shrimp (Litopenaeus vannamei) at a levels of salinity.
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บุญรัตน์ ประทุมชาติ
กระสินธุ์ หังสพฤกษ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: กุ้งขาว -- การเจริญเติบโต
แมกนีเซียม
แคลเซียม
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ทำการทดลองเลี้ยงกุ้งขาวขนาดความยาวลำตัว 10.4+-0.09 เซนติเมตร และน้ำหนัก 8.29+-0.08 กรัม ในถังไฟเบอร์กลาสขนาด 200 ลิตร ที่ความหนาแน่น 70 ตัวต่อตารางเมตร ระบบน้ำแบบปิดที่ความเค็ม 10, 20 และ 30 ส่วนในพัน แต่ละความเค็มได้แบ่งเป็น 4 ชุดทดลอง ตามสัดส่วนความเข้มข้น Mg:Ca ที่ 1:1, 2:1, 4:1 และ 5:1 ด้วยการเติม CaCl2 และ MgCl26H2O และอัตราส่วน 3:1 เป็นชุดควบคุม ตามแบบ one way ANOVA ทำการทดลอง 3 ซ้ำ ให้อาหารสำเร็จรูปโปรตีนไม่ต่ำกว่า 35% ประมาณ 5% ของน้ำหนักตัว กุ้ง วันละ 3 ครั้ง ระหว่างทำการทดลอง จดบันทึกจำนวนกุ้งที่ลอกคราบ และจำนวนกุ้งตาย ทุก ๆ วัน ทำการสุ่มชั่งน้ำหนักและวัดขนาดความยาวของกุ้งทดลอง ทุก ๆ 15 วัน ตลอดการเลี้ยง 60 วัน เมื่อสิ้นสุดการทดลองเลี้ยงจึงทำการสุ่มตัวอย่างกุ้งทดลองระยะลอกคราบ D0 เพื่อเก็บตัวอย่างเลือด เปลือก และตับ มาตรวจวัดปริมาณของ Na, K, Ca, Mg, Cl และ P ระหว่างทดลอง ทำการตรวจวัดปริมาณออกซิเจนละลานน้ำอุณหภูมิ ความเค็ม แอมโมเนีย ไนไตรท์ และ อัลคาไลนิตี้ ในน้ำทุก ๆ 7 วัน จากการทดลองพบว่า กุ้งที่เลี้ยงความเค็ม 10 ppt ที่มีความเข้มข้น Mg:Ca 1:1 มีวงจรการลอกคราบสั้นที่สุด (8.6+-0.4 วันต่อรอบ) สั้นกว่ากุ้งที่เลี้ยงในชุด Mg:Ca 2:1, 4:1 และ 5:1 (p>0.05) และกุ้งที่เลี้ยงในความเค็ม 20 ppt ที่มี Mg:Ca 2:1 กุ้งใช้เวลา 7.7+-0.33 วันต่อรอบ สั้นกว่าชุดที่มีสัดส่วน 4:1 (8.8+-0.34 วันต่อรอบ) และ 5:1 (10.7+-0.33 วันต่อรอบ) (p<0.05) ขณะที่ไม่แตกต่างกันที่ความเค็ม 30 ppt (p>0.05) โดยการเลี้ยงกุ้งขาวทุกชุดการทดลองของแต่ละความเค็มมีการเจริญเติบโต อัตราแลกเนื้อ และอัตรารอดไม่แตกต่างกัน (p>0.05) จากผลการทดลองชี้ให้เห็นว่าสัดส่วน Mg:Ca ที่เปลี่ยนแปลงไปตั้ง 5:1 ถึง 1:1 นั้น ปลอดภัยในการเลี้ยงกุ้งขาวที่ความเค็ม 10-30 ส่วนในพัน ในสภาวะสิ่งแวดล้อมปกติและควยคุมได้ดี อย่างไรก็ตามต้องระมัดระวังการใช้สัดส่วน Mg:Ca ที่ 1:1 ถึง 2:1 ที่ความเค็มต่ำกว่า 20 ppt นั้น กุ้งมีวงจรลอกคราบเร็วขึ้น ซึ่งมีความเสี่ยงสูงมากขึ้นที่อาจจะมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและอัตรารอดได้
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1095
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น