กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1090
ชื่อเรื่อง: รูปแบบการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาตำบลหนองรี อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Models of social welfares for the elderly: A case study of nong ree sub district, muang district, Chonburi province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุธิดา แจ้งประจักษ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ: Flderly
Social Welfares
สวัสดิการผู้สูงอายุ
สาขาสังคมวิทยา
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่องรูปแบบการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ กรณีศึกษาตำบลหนองรี อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรีมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและเปรียบเทียบ รวมทั้งวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ มีแนวคำถามประกอบการสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุ เจ้าหน้าที่องค์กรภาครัฐ เจ้าหน้าที่องค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุในตำบลหนองรี ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุมีดังนี้ 1. สวัสดิการโดยภาครัฐ ประกอบด้วย การประกันสังคม ได้แก่ ระบบบำเหน็จบำนาญข้าราชการ การช่วยเหลือทางสังคม และการบริการสังคท 2. สวัสดิการโดยภาคเอกชน ประกอบด้วย การประกันสังคมและระบบส่งเสริมหุ้นส่วนทางสังคมตามแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ 3.สวัสดิการโดยภาคชุมชนประกอบด้วย การประกันสังคม ได้แก่ กองทุนสวัสดิการชุมชน การช่วยเหลือทางสังคมโดยใช้ระบบเครือญาติและทุนทางสังคม และการบริการสังคม เมื่อเปรียบเทียบรูปแบบ พบว่า ภาครัฐและภาคชุมชนได้จัดสวัสดิการเพื่อผู้สูงอายุโดยเฉพาะส่วนภาคเอกชนจัดให้สำหรับทุกกลุ่มอายุ โดยภาครัฐมีเป้าหมายในการจัดสวัสดิการเพื่อแก้ไขปัญหาบำบัดฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพของผู้สูงอายุ โดยภาครัฐมีเป้าหมายในการจัดสวัสดิการเพื่อแก้ไขปัญหาบำบัดฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพของผู้สูงอายุ ส่วนภาคเอกชนมีเป้าหมายเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาและพัฒนาศักยภาพของผู้สูงอายุ ในขณะที่ภาคชุมชมจะเน้นการบำบัดฟื้นฟู ป้องกันปัญหาและพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ ซึ่งภาครัฐจัดสวัสดิการได้ครอบคลุมมากกว่าภาคเอกชนและภาคชุมชน ทั้งการศึกษา สุขภาพ อนามัย ที่อยู่อาศัย การทำงานและมีรายได้ นันทนาการ กระบวนการยุติธรรมและบริการสังคมทั่วไป ปัจจัยภายในชุมชนที่เกี่ยวข้องการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ คือ ผู้สูงอายุในตำบลหนองรีมีศักยภาพและมีจิตอาสาพร้อมที่จะพัฒนาตัวเองและชุมชน อีกทั้งในตำบลมีทุนทางสังคมที่เอื้อต่อการจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุ ปัจจัยภายนอกได้แก แนวนโยบายของรัฐที่ให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุรวมถึงกระแสสังคมเรื่องความรับผิดชอบทางสังคมที่ทำให้องค์กรเอกชนทำประโยชน์เพื่อชุมชน ดังนั้นในการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุควรเป็นแบบพหุภาคี ซึ่งต้องเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุได้มีส่วนร่วมในการจัดสวัสดิการมากกว่าเป็นผู้รับบริการ เพื่อให้เกิดการตระหนักรู้ถึงคุณค่าของตนเอง อีกทั้งควรส่งเสริมให้เกิดความเข้มแข็งในชุมชนเพื่อใช้เป็นฐานในการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ The study of Models of social welfares for the elderly: a case study of Nong Ree Sub District, Muang District, Chonburi Province aimed to study and compare the patterns of social welfares, and analyze the factors involved with social welfare management. Guided questions and interviews were applied. The samples by purposive sampling method comprised the elderly, government officials, and from private organizations involving with social welfare management in Nong Ree Sub District. The study found that the models of social welfares for the elderly were as follows 1. The governmental social welfares: pension, social aids, and social services, 2) The social welfares provided by private sectors: social security and social partnerships derived from the concept of social responsibility, 3. The social welfares provided by the community: social security, community funds, and social aids driven by kinship system and social capital, and social services. The government and the community sectors provided particular welfares for the elderly, while the private sectors distributed the welfares for every group of people. The government sector targeted to solve problems, rehabilitate and develop the potentiality of the elderly, while the private one focused on preventing problems and developing the elderly’ s potentiality. The community sector aimed to rehabilitate, prevent problems and develop the elderly’ s potentiality. The welfares provided by the governmental sector covered the elderly’ s needs more than those of the private and community ones particularly in the fields of education, health, housing, job opportunity, employment and income maintenance, recreation, and criminal justice, and social service. The elderly’ s potentiality and their volunteer spirit were the internal factors at Nong Ree Sub District that flourished the social welfare management for the elderly. Moreover, the readiness of the senior citizen and the social capital here propelled the social welfare management. Besides, the government’s policy focusing on the elderly, and the idea of social responsibility initiated by the private sectors acted as the external factors boosting the social welfares for the elderly. Consequently, social welfare for the elderly should be a multilateral management which offers opportunities for the elderly to participate in the administration in order to allow them to recognize their own values. Also, the community should be well strengthened in order be a solid foundation for social welfare management for the elderly.
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1090
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2566_152.pdf6.46 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น