กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1089
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | สถาพร พฤฑฒิกุล | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T09:01:15Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T09:01:15Z | |
dc.date.issued | 2556 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1089 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิต จำแนกตามเพศ สถานที่เรียน กลุ่มเรียน และแผนการเรียนและ 2) ศึกษาปัจจัยสภาพแวดล้อมทางการเรียนและวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงพยากรณ์ของปัจจัยสภาพแวดล้อมทางการเรียนที่ส่งผลต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิต หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนิสิตชั้นปีที่ 1 และลงทะเบียนเรียนในภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2556 ได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น จำนวน 247 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 3 ตอน ตอนที่ 1 สอบถาม สถาณภาพของนิสิต ตอนที่ 2 สอบถามสภาพแวดล้อมทางการเรียน 4 ด้าน คือ ด้านการเรียนการสอน ด้านการบริหารจัดการ ด้านกลุ่มเพื่อน และด้านอาคารสถานที่ มีค่าความเชื่อมั่นโดยรวม เท่ากับ 0.97 และตอนที่ 3 สอบถามแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนิสิต มีค่าความเชื่อมั่นโดยรวม เท่ากับ 0.91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว การหาค่าสหสัมพันธ์อย่างง่าย และการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงเส้นตรง แบบขั้นตอน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางคณิตศาสตร์ (SPSS) ผลการวิจัยพบว่า 1. แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกตามเพศ สถานที่เรียน และกลุ่มเรียน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แต่เมื่อจำแนกตามแผนการเรียนของนิสิต พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 โดยนิสิตที่เรียนแผน ก มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านิสิต ที่เรียนแผน ข 2. ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมทางการเรียนของนิสิต โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ปัจจัยด้านการเรียนการสอนและปัจจัยด้านการบริหารจัดการ มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และร่วมกันพยากรณ์แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตได้ร้อยละ 10.90 (R=.109) มีสมการทำนายดังนี้ MA = 1.85 + .25 (SEL*) + .15 (SEL*) The purposes of the study aimed to; 1) investigate and compare academic achievement motivation Administration and Education Leadership Center (IALC), Faculty of Education, Burapha University as classified by gender, learning location, group of study and learning program . 2) investigate the learning environment factors and find out the predicted relationship of learning environment factors toward the academic achievement motivation of the students. The samples used in this study, derived from stratified random sampling, were 247, first year students studied in master degree and enrolled in summer in 2013 academic year. The research instruments were questionnaires; the first concerned about the students status, the second concerned about learning environment which consisted of learning and teaching factor, management factor, friends relationship factor and building factor; and the third concerned about academic achievement motivation. The reliability value of two questionnaires were 0.97 and 0.91 respectively. The statistical devices used in this research were mean, standard deviation, t-test, one way analysis of variance simple correlation and stepwise multiple regression by mathematical program, (SPSS) . The findings were as follow: 1) The academic achievement motivation of the student were rated at high level, There was no with no significant statistical different when classified by gender, learning location and group of study; but there was statistical significant different in learning program by which the academic achievement motivation of plan of study A was higher than plan of study B. 2) The learning environment of the students were rated at high level. The dimension of learning and teaching factor and management factor predicted the academic achievement motivation with. 05 statistically difference, as well as the two factor could explain academic achievement motivation of student at 10.90 percent, (R=.109). The equation was MA’ = 1.85 + .25 (SEL*) + .15 (SES*) | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน | th_TH |
dc.subject | สภาพแวดล้อมทางการเรียน | th_TH |
dc.subject | สาขาการศึกษา | th_TH |
dc.subject | แรงจูงใจฝ่สัมฤทธิ์ | th_TH |
dc.title | ปัจจัยสภาพแวดล้อมทางการเรียนที่ส่งผลต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา ศูนย์นวัตกรรมการบริหารและผู้นำทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.type | Research | th_TH |
dc.year | 2556 | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2568_036.pdf | 6.87 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น