กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1072
ชื่อเรื่อง: การทดลองใช้การเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลักในรายวิชาทางการพยาบาล
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Experiment of Problem-Based Learning in Nursing Course
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ผ่องศรี เกียรติเลิศนภา
เรณา พงษ์เรืองพันธุ์
รัชนีภรณ์ ทรัพย์กรานนท์
อาภา หวังสุขไพศาล
ภรณี พวงแก้ว
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: การพยาบาล
บุคลากรทางการแพทย์
พยาบาล
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2538
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการทดลองใช้การเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลักในรายวิชาทางการพยาบาล เปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการแก้ปัญหาก่อนและหลังการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก ในระยะเวลาที่มีการทดลอง 6 สัปดาห์ สำหรับนิสิตพยาบาลปีที่ 4 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 60 คน ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเกรดเฉลี่ยสะสมกับพฤติกรรมการเรียนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวน วิเคราะห์ค่าที (t-test) และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ พบว่า ความสามารถในการแก้ปัญหาของนิสิตหลังการเรียนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก สูงกว่าก่อนการเรียนทั้งในนิสิตกลุ่มใหญ่ และในกลุ่มย่อย ที่มีเกรดเฉลี่ยระดับสูงและระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (p< .001) อย่างไรก็ตามความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนิสิตก่อนและหลังการเรียนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ สำหรับเกรดเฉลี่ยสะสมของนิสิตมีความสัมพันธ์ทางบวก กับคะแนนพฤติกรรมการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 นั่นคือนิสิตที่มีเกรดเฉลี่ยสะสมสูงจะมีพฤติกรรมการเรียนแบบใช้ปัญหาเป็นหลักสูงด้วย ความคิดเห็นของนิสิตต่อการจัดการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก ในภาพรวมเป็นไปในทางที่ดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับทักษะในการแก้ปัญหา อย่างไรก็ตามการจัดการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก มีความเหมาะสมในการนำไปใช้สอนในบางรายวิชาทางการพยาบาลเท่านั้น ประโยชน์ที่นิสิตได้รับหลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก ได้แก่ การเพิ่มแรงจูงใจในการเรียน การเพิ่มการเตรียมตัวก่อนเข้าชั้นเรียน การกล้าแสดงความคิดเห็นและถามคำถาม การฝึกการคิดแก้ปัญหา และวิธีการเรียนรู้ด้วยตนเอง การจัดการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลักสามารถเพิ่มความสามารถในการแก้ปัญหาของนิสิต แต่ไม่เพิ่มความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทั้งนิสิต อาจารย์ มีความเห็นพ้องกันว่าวิธีการจัดการเรียนการสอนควรได้รับการปรับปรุง ได้แก่ (1) ระยะเวลาในการจัดการเรียนการสอนความมีระยะยาวกว่า 6 สัปดาห์ เพื่อให้สามารถสอนได้ครอบคลุมเนื้อหาวิชาได้ดีขึ้น (2) จำนวนนิสิตมีมากเกินไป ไม่สมดุลกับทรัพยากรที่คณะพยาบาลศาสตร์มีอยู่ เช่น ตำรา สถานที่ เอกสารการสอนต่างๆ (3) เนื้อหาในการสอน และวิธีการประเมินผลควรได้รับการปรับปรุง เช่น เพิ่มการสอนในด้านความคิดวิจารณญาณ วัดจุดเด่นและจุดอ่อนของการจัดการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1072
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น