กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1071
ชื่อเรื่อง: สภาพทรัพยากรประการังบริเวณชายฝั่งตะวันออก (Satatus of coral resouces along the East Coast of Thailand)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Satatus of coral resouces along the East Coast of Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิภูษิต มัณฑะจิตร
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก
ปะการัง
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2537
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาโครงสร้างและสภาพของแนวปะการังรวมทั้งโครงสร้างสังคมของปลาที่อาศัยอยู่ในแนวปะการังของจังหวัดชลบุรี และระยอง ในระหว่างปี พ.ศ. 2534-2535 โดยการแบ่งพื้นที่การศึกษาออกเป็น 6 บริเวณ ได้แก่ หมู่เกาะสีชัง หมู่เกาะล้าน หมู่เกาะไผ่ หมู่เกาะแสมสาร หมู่เกาะเสม็ด และเกาะมัน การศึกษาโครงสร้างและสภาพของแนวปะการังใช้วิธี Lifeform Line Intercept ส่วนโครงสร้างของสังคมปลาใช้วิธี Visaul Fish Census ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าโครงสร้างของแนวปะการังบริเวณที่ทำการศึกษาทั้งหมด จัดเป็นแนวปะการังที่พัฒนาอยู่ใกล้ชายฝั่งทะเล เพราะมีระดับการพัฒนาไม่สูงนัก แต่มีแนวโน้มแสดงให้เห็นว่า แนวปะการังที่อยู่ห่างจากฝั่งจะมีการพัฒนาไม่สูงนัก แต่มีแนวโน้มแสดงให้เห็นว่า แนวปะการังที่อยู่ห่างจากฝั่งจะมีการพัฒนาที่ดีกว่าแนวปะการังที่อยู่ใกล้ อันแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลต่าง ๆ จากชายฝั่งไม่เท่ากัน สำหรับความแตกต่างของการพัฒนาในหมู่เกาะเดียวกันจะขึ้นอยู่กับอิทธิพลของลงมรสุม สำหรับการประเมินสภาพของแนวปะการังได้เสนอหลักเกณฑ์การพิจารณาขึ้นมาใหม่ โดยกำหนดให้อยู่ในรูปแบบของดัชนี ได้แก่ ดัชนีชี้ระดับการพัฒนา (DI) ดัชนีชี้สภาพ (CI) และดัชนีชี้ระดับการเปลี่ยนแปลง (SI) การใช้หลักเกณฑ์ในการพิจารณาสภาพของแนวปะการังใน 4 หมู่เกาะ พบว่าแนวปะการังบริเวณหมู่เกาะล้านยังมาสภาพดีอยู่ หมู่เกาะไผ่มีทั้งดีและเสื่อมโทรม ส่วนหมู่เกาะแสมสาร และหมู่เกาะเสม็ดมีสภาพปานกลางจนถึงเสื่อมโทรม ได้วิจารณ์ถึงสาเหตุจากกิจกรรมของมนุษย์ต่อสภาพของแนวปะการังในแต่ละบริเวณไว้ด้วย โครงสร้างของสังคมปลาในแนวปะการังบริเวณนี้แสดงให้เห็นถึงระดับการพัฒนาที่ไม่สูงมากนัก ชนิดหรือกลุ่มปลาที่เป็นลักษณะเด่นของบริเวณนี้จะเป็นปลาขนาดเล็กทั้งสิ้น โดยกลุ่มปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจมี Cephalopholis pachycen-tron เป็นตัวแทนปลาที่ใช้เป็นดัชนีชี้สภาพแนวปะการังมี Chaetodon octofascistus เป็นตัวแทน ในขณะที่กลุ่มปลาครอบครัวเด่น มีปลาในครอบครัว Pomacentridae, Labridae, Apogonidae และ Pempheridae เป็นตัวแทน ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพของแนวปะการังและปลาที่อาศัยอยู่ไม่แสดงความสัมพันธ์กันในทางสถิติ อย่างไรก็ตามโครงสร้างของสังคมปลาในหมู่เกาะเดียวกันจะมีความสัมพันธ์กันในทางสถิติ อย่างไรก็ตามโครงสร้างของสังคมปลาในหมู่เกาะเดียวกันจะมีความคล้ายคลึงกัน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของสถานที่ตั้งที่มีต่ออิทธิพลต่อการพัฒนาของสังคมปลาเช่นเดียวกับที่มีผลต่อการพัฒนาของแนวปะการัง ข้อมูลจากการศึกษาทั้งหมดในครั้งนี้ได้ถูกจัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยใช้คำสั้งชุดมาตรฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เป็นฐานข้อมูลสำหรับการจัดตั้งฐานข้อมูลของทรัพยากรปะการังในภาคตะวันออก
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1071
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น