กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/107
ชื่อเรื่อง: | จิตรกรรมฝาผนังริมฝั่งทะเลภาคตะวันออกของไทย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Mural-paintings in the east coast of Thailand |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุชาติ เถาทอง มหาวิทยาลัยบูรพา. หอศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออก |
คำสำคัญ: | จิตรกรรมฝาผนัง - - ไทย (ภาคตะวันออก) - - วิจัย จิตรกรรมฝาผนังไทย - - ไทย (ภาคตะวันออก) - - วิจัย จิตรกรรมพุทธศาสนา - - ไทย (ภาคตะวันออก) - - วิจัย สาขาปรัชญา |
วันที่เผยแพร่: | 2548 |
สำนักพิมพ์: | หอศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | "จิตรกรรมฝาผนังริมฝั่งทะเลภาคตะวันออกของไทย" มีหลักฐานปรากฏมากในเขตจังหวัดชลบุรี และจังหวัดจันทบุรี ในระกว่าง 200 ปี จิตรกรรมฝาผนังมีความเป็นมาตั้งแต่ประมาณสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2500 ตามลำดับ โดยรูปแบบจิตรกรรมฝาผนังมีการเปลี่ยนแปลงมาอย่างต่อเนื่อง สะท้อนถึงวิวัฒนาการของแบบอย่างเช่นเดียวกับเมืองหลวง กับทั้งบางรูปแบบยังแสดงออกถึงศิลปลักษณะของชุมชนแถบนี้ อีกส่วนหนึ่ง ประกอบด้วยจิตกรรมฝาผนังดังนี้ คือ แบบอยุธยา แบบเลียนแบบครูช่างเดิม แบบศิลปะแบบจีน แบบอิทธิพลตะวันตก แบบประเพณีรัชกาลที่ 4 และ 5 และแบบพื้นบ้าน กรณีลักษณะองค์ประกอบ และการจัดวางภาพจิตรกรรมฝาผนัง มีเนื้อเรื่องโดยรวมที่บอกเล่าชีวิตความเป็นอยู่ การแต่งกาย การประกอบอาชีพ และสภาพธรรมชาติที่มีมา และสิ่งแวดล้อมจากการปลูกสร้างในชุมชนริมฝั่งทะเลได้อย่างน่าสนใจ กับทั้งอิทธิพลของศิลปะจีนในช่วงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นเป็นปฐม และตะวันตก ตั้งแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในระยะถัดมาประการสำคัญลักษณะแบบพื้นบ้าน เป็นจิตรกรรมฝาผนังที่พบอยู่มาก รูปแบบมีความโดดเด่นแสดงอัตลักษณ์ของชุมชนริมฝั่งทะเลภาคตะวันออกได้ชัดเจน Counted back for 200 years since late Ayuddhaya period through year 2500 B.E. in Rattanakosin period, evidence and proves had been found that, along the eastern coast of Thailand, there were a great deal of mural paintings especially in Chonburi and Chantaburi provinces. Similarly reflecting the revolution as in the capital, the painting styles in this area were constantly evolving and some styles expressed local characters. It could be categorized into six styles: Ayuddhaya style, ancient-artist-replicating style, Chinese replicating style, western style, King Rama IV & V traditional style, and local style. The content and composition of the painting were wholly and interestingly telling the stories about life style, costume, occupation, nature and human-made-enviroment in the coastal communities. The inflience of Chinese style from the entire Rattanakosin periodwas found in the primitive paintings, and western style from King Rama IV reign was found in the later paintings. Mostly found were the paintings presenting the local character which outstandingly and clearly expressed the identily of the communities in Thailand's east coast. |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/107 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น