กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1066
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | สุวรรณา ภาณุตระกูล | th |
dc.contributor.author | วันศุกร์ เสนานาญ | th |
dc.contributor.author | ปภาศิริ บาร์เนท | th |
dc.contributor.author | นงนุช ตั้งเกริกโอฬาร | th |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T09:01:14Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T09:01:14Z | |
dc.date.issued | 2554 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1066 | |
dc.description.abstract | จากผลการศึกษานี้ได้แสดงให้เห็นว่ากุ้งขาวแวนาไมซึ่งเป็นกุ้งต่างถิ่นที่ถูกนำเข้ามาเพื่อการเพาะเลี้ยงในประเทศไทย และเป็นที่นิยมเพาะเลี้ยงโดยเกษตรกรตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 เป็นต้นมา ได้หลุดลอดลงสู่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของประเทศไทย และมีจำนวนมากพอที่จะตรวจพบการปรากฏของกุ้งขาวแวนาไมร่วมกับประชากรกุ้งที่ถูกจับโดยเครื่องมือประมงอวยลอยกุ้ง อวนรุนและอวนลาก โดยมีจำนวนตัวที่พบทั้งหมด 4,040 ตัว เป็นการพบจากเครื่องมือประมงอวนรุนถึง 3,863 ตัว อวนลาก 63 ตัว และอวนลอย 114 ตัว การปรากฏของกุ้งขาวแวนาไมพบสูงสุดและสม่ำเสมอที่สุดในเครื่องมือประมงอวนรุน แต่พบว่าร้อยละโดยเฉลี่ยของน้ำหนักของกุ้งขาวแวนาไมต่อน้ำหนักของกุ้งทะเลพื้นเมืองทั้งหมดในเครื่องมือประมงอวนลอยมีค่าสูงสุด ดังนั้นน่าจะเป็นที่คาดการณ์ได้ว่ากุ้งขาวแวนาไมที่หลุดลอดลงสู่ชายฝั่งทะเลส่วนใหญ่จะดำรงชีพอยู่ในพื้นที่ 5 กิโลเมตรจากชายฝั่งทะเล ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงความเค็มอาจจะมีผลต่ออัตราการเจริญเติบโตของกุ้งขาวในพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของไทย ซึ่งควรจะมีการศึกษาต่อเนื่องต่อไป กุ้งขาวแวนาไมที่พบมีขนาดในระยะตัวโตเต็มวัยและมีพัฒนาการของเซลล์สืบพันธุ์ทั้งเพศผู้และเพศเมียอยู่ในระยะที่พร้อมจะผสมพันธุ์ได้ ซึ่งบ่งชี้ว่ากุ้งขาวแวนาไมที่หลุดลอดออกมาจากบ่อเพาะเลี้ยงลงสู่ชายฝั่งทะเลมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการสืบพันธุ์ในธรรมชาติ ซึ่งจะทำให้โอกาสที่กุ้งขาวแวนาไมจะตั้งประชากรขึ้นในธรรมชาติสำเร็จมีความเป็นไปได้สูง พบการติดเชื้อ TSV, WSSV, และ YHV ในกุ้งพื้นเมืองและกุ้งขาวแวนาไมที่จับจากชายฝั่งทะเลรวม 7 ชนิด โดยอัตราการติดเชื้อ WSSV และ YHV สูงกว่า TSV ผลการศึกษานี้บ่งชี้ว่า ประชากรกุ้งพื้นเมืองและกุ้งขาวแวนาไมที่หลุดลอยออกมาอยู่อาศัยในพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของไทย อาจจะได้รับผลกระทบจากการติดเชื้อนี้ได้ | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | กุ้งขาว - - การเลี้ยง | th_TH |
dc.subject | กุ้งขาวแวนนาไม - - โรค | th_TH |
dc.subject | สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา | th_TH |
dc.title | แนวโน้มการตั้งประชากรของกุ้งขาว (Litopenaeus vannamei) ที่หลุดลอดบริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของประเทศไทย | th_TH |
dc.title.alternative | Likelihood of population establishment of escaped Litopenaeus vannamei in eastern coast of Thailand | en |
dc.type | Research | |
dc.year | 2554 | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น