กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1044
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorสุวรรณา ภาณุตระกูล
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:01:13Z
dc.date.available2019-03-25T09:01:13Z
dc.date.issued2550
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1044
dc.description.abstractหอยนางรมปากจีบ (Saccostrea cucullata) เป็นสัตว์น้ำที่เป็นที่นิยมบริโภคของคนทั่วไป หอยนางรมดำรงชีวิตแบบเกาะอยู่กับที่ และกินอาหารแบบกรองกิน ทำให้มีโอกาสปนเปื้อนจุลชีพ เช่นแบคทีเรียก่อโรค รวมถึงโลหะหนักจากมวลน้ำ ในการทดลองเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการลดแบคทีเรียรวมในกลุ่ม Vibrios, V. parahaemolyticus, V. cholera และ E. coli ในหอยนางรมด้วยแสงอัลตราไวโอเลต ในระบบ Depuration แบบน้ำหมุนวนระบบปิด ที่อัตราการไหลของน้ำ 6 ลิตรต่อนาที และ 3 ลิตรต่อนาที พบว่าในทั้งสองการทดลองปริมาณแบคทีเรียรวมในกลุ่ม Vibrio V. parahaemolyticus และ V. cholerae ในหอยนางรมมีค่าลดลงอย่างรวดเร็วเมื่อผ่านการ Depuration ได้ 3 ชั่วโมง จากนั้นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นระหว่างชั่วโมงที่ 4-20 แล้วจึงลดลงอีกจนไม่สามารถตรวจวัดได้ที่ชั่วโมงที่ 96 ส่วนปริมาณ E. coli มีค่าเพิ่มขึ้นในชั่วโมงที่ 3 และลดลงจนตรวจไม่พบที่ 96 ชั่วโมง การทดลองลดโลหะหนักในหอยนางรมจากอ่างศิลาโดยกระบวนการ Depuration ในระบบน้ำไหลวนแบบปิดขนาดเล็ก ซึ่งออกแบบให้ถ่านกัมมันต์ และซีโอไลท์ดูดซับโลหะหนักน้ำทะเล พบว่าความเข้มข้นเฉลี่ยของ Cd, Cu, Hg, Pb, และ Zn ที่ 0 ชั่วโมง เท่ากับ 0.08±0.02 µ g/g, 26.85±6.08 µ g/g, 4.12±0.73 n g/g, 0.81±0.02 µ g/g และ 198.35±72.73 µ g/g ตามลำดับ ความเข้มข้นเฉลี่ยของ Cd, Cu, Hg, Pb, และ Zn ที่ 48 ชั่วโมง ลดลงเท่ากับ 0.03±0.03 µ g/g, 15.90±4.03 µ g/g, 2.51±0.33 ng/g, 0.14±0.04 µ g/g, และ 98.74±51.34 µ g/g, ตามลำดับ โดยค่าความเข้มข้นที่ 48 ชั่วโมงของ Cd, Cu, Hg, Pb, และ Zn มีค่าความเข้มข้นต่ำกว่าชั่วโมงเริ่มต้นที่ 0 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ยกเว้น Pb โดยอัตราการลดลงของ Cd, Cu, Hg, Pb, และ Zn มีค่าเท่ากับ 0.001 µg/hr, 0.228 µg/hr, 0.033 µg/hr, และ 2.705 µg/hr ตามลำดับ จากการทดลองนี้พบว่าระดับความเข้มข้นเริ่มต้นของ Cu และ Zn ที่มีค่าเกินมาตรฐาน เมื่อผ่านกระบวนการ Depuration แล้วมีค่าลดลงมาอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน และปริมาณเข้มข้นของโลหะหนักในหอยนางรมมีความสัมพันธ์แบบแปรผกผันกับเวลาที่ 0 ถึง 48 ชั่วโมง Oyster (Saccostrea cucullata) in one of the most favorite seafood for thais. Oyster is a sessile species and filter feeder. Hence they have a high chance to accumulate microbial such as pathogenic bacteria and heavy metals from surrounding water. The efficieney in decreasing total Vibrio, V.parahaemolyticus, V.cholerae and E. coli in live oyster 2 closed circulate depuration systems, with 6 L/min and 3 L/min flow rate were compared. Ultraviolet lamp was used as the main process to reduce bacterial contamination in flowing water. The depurated oysters were collected at 0, 3, 6, 12, 24, 48, 72 and 96 hours for total Vibrio, V.parahaemolyticus, V.cholerae and E.coli count. Results show that in both experiments total vibrio, V.parahaemolyticus and V.choleae in oysters were rapidly decreased within the first 3 hours of the depuration processes in both experiments. However, the number of these bacteria in oyster were found to rise within 4 to 20 hour before decreased to undetectable level at 96 hours of E.coli was increased within the first 3 hour and reduced to undetectable after 96 hours. close circulation depuration system was used to experimentally reduce heavy metal concentration in oyster from Angsila bay. Activated carbon and zeolite were used to absorb heavy metals from the oyster. Concentration of Cd, Cu, Pb, Zn and Hg in oyster before the depuration process (0 hours) were 0.08±0.02 µ g/g, 26.85±6.08 µ g/g, 0.18±0.02 µ g/g, 198.35±72.73 µ g/g and 4.12±0.73 ng/g wet weight, respctively. Cu and Zn concentrations in oyster before depurating were higher than safety standard. All of the heavy metals except Pb in oysters showed reducing patterns with increasing depuration period.Their concentrations after 48 hours depuration were significantly (P<0.05) lower than at 0 hours. Concentrations of Cd, Cu, Pb, Zn and Hg in oyster after 48 hours depuration were 0.03±0.03 µ g/g, 15.90±4.03 µ g/g, 0.14±0.04 µ g/g, 98.74±51.34 µ g/g and 2.51±0.33 ng/g wet weight, respectively. Reducing rate of Cd, Cu, Pb, Zn and Hg in oyster were 0.025 µg/day, 5.474 µg/day, 54.809 µg/day and 0.804 ng/day.All of the heavy metal concentrations in oyster after the depuration process were within safety standard for human consumption.th_TH
dc.description.sponsorshipรายงานฉบับสมบูรณ์ โครงงานวิจัยทุนอุดหนุน งบประมาณแผ่นดิน สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2550-2551.en
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectการปนเปื้อนในอาหารth_TH
dc.subjectสาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยาth_TH
dc.subjectหอยนางรม -- การปนเปื้อนth_TH
dc.subjectแบคทีเรียก่อโรคth_TH
dc.titleการลดการปนเปื้อนแบคทีเรียก่อโรคและโลหะหนัก ในหอยนางรมสดth_TH
dc.title.alternativeDepuration of pathogenic bacteria and heavy metals in fresh oysteren
dc.typeResearchth_TH
dc.year2550
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น