กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/102
ชื่อเรื่อง: | รูปแบบการพัฒนาสุขภาพจิตเพื่อความพึงพอใจในการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยเอดส์และครอบครัวในเขตพื้นที่พัฒนาชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Model for mental health development for life satisfaction of people living with AIDS and their families in Eastern Sea-board area |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เยาวลักษณ์ บรรจงปรุ เรณา พงษ์เรืองพันธุ์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
คำสำคัญ: | สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ โรคเอดส์ |
วันที่เผยแพร่: | 2538 |
สำนักพิมพ์: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนารูปแบบการพัฒนาสุขภาพจิตเพื่อความพึงพอใจในการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยโรคเอดส์และครอบครัว กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ป่วยโรคเอดส์ จำนวน 45 คน ครอบครัวของผู้ป่วย 28 คน ผู้นำชุมชนในหมู่บ้าน 33 คน หัวหน้าส่วนราชการระดับอำเภอ 6 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาและการประชุมกลุ่มย่อย วิธีดำเนินการวิจัยโดยเก็บรวบรวมข้อมูล ความพึงพอใจในการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว ก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการพัฒนาสุขภาพจิตของผู้ป่วยและครอบครัว การประชุมกลุ่มแบบมีจุดมุ่งหมายเฉพาะ (focus group) ในกลุ่มผู้นำชุมชน และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกในกลุ่มหัวหน้าส่วนราชการระดับอำเภอ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อพัฒนารูปแบบ หาค่าสถิติเชิงบรรยาย ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ค่าสหสัมพันธ์ถดถอยพหุคูณ การวิเคราะห์ค่าที (t-test) และวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ผลการวิจัยโดยการทดลองใช้โครงการ "พัฒนาสุขภาพจิตของผู้ป่วยโรคเอดส์และครอบครัว" พบว่า ระดับความพึงพอใจในการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยโรคเอดส์และครอบครัวหลังเข้าร่วมโครงการ สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโครงการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คณะผู้วิจัยได้พัฒนารูปแบบที่เหมาะสมในการพัฒนาสุขภาพจิตเพื่อความพึงพอใจในการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยโรคเอดส์และครอบครัวคือ "ปิรามิดการพัฒนาสุขภาพจิตของผู้ป่วยโรคเอดส์และครอบครัว" ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 5 ระบบ ที่ต้องสอดประสานกัน ได้แก่1. บ้าน ซึ่งมีครอบครัวให้การดูแลช่วยเหลือในการศึกษาปฏิบัติธรรมะ และปฏิบัติตนตามคำแนะนำของแพทย์เพื่อดูแลร่างกายและจิตใจ2. ชุมชน โดยเตรียมชุมชนให้มีการยอมรับ จัดเตรียมอาสาสมัครเพื่อให้การช่วยเหลือ3. โรงพยาบาล ทำหน้าที่ด้านการรักษา ให้คำปรึกษา และเตรียมผู้ป่วยญาติให้กลับไปอยู่ในชุมชนได้อย่างมีความสุข4. ระบบการช่วยเหลือของสังคม โดยจัดหางาน จัดระบบให้คำปรึกษา จัดกิจกรรมด้านศาสนา5. ระบบการดูแลระยะสุดท้าย ภาครัฐบาล ภาคเอกชน และองค์การกุศล โดยจัดดำเนินงานด้านสถานสงเคราะห์เพื่อดูแลผู้ป่วยระยะพักฟื้น และระยะสุดท้าย ทั้ง 5 ระบบ จำเป็นต้องมีความรัก ความเข้าใจ และความเห็นใจที่สังคมมอบให้กับผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยโรคเอดส์ |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/102 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2567_040.pdf | 3.77 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น