กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10288
ชื่อเรื่อง: การใช้เรือไร้คนขับ : อนาคตของการขนส่งทางทะเลกับความท้าทายทางกฎหมายเกี่ยวกับหน้าที่ของผู้ขนส่งในการทำให้เรืออยู่ในสภาพปลอดภัยภายใต้สัญญารับขนสินค้าทางทะเล
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The use of unmanned ships : the future of maritime transport and the legal challenges relating to the carriers' obligations of seaworthiness under the carrigge of goods by sea contract
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พิมพ์กมล กองโภค
คำสำคัญ: กฎหมายทะเล
การขนส่งทางน้ำ --กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
การรับขนของทางทะเล
วันที่เผยแพร่: 2565
สำนักพิมพ์: คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงคiเพื่อศึกษาสถานะทางกฎหมายของเรือไร้คนขับและข้อจำกัดทางกฎหมายใน การปรับใช้กับหน้าที่ของผู้ขนส่งในการทำให้เรืออยู่ในสภาพปลอดภัยภายใต้สัญญารับขนสินค้าทางทะเล เพื่อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายในประเด็นดังกล่าว ผลการวิจัยพบว่า ในปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีเรือไร้คนขับนั้นอยู่ในช่วงของการทดลองก่อนจะนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์ในอนาคตอันใกล้นี้ ในแง่สถานะทางกฎหมายของเรือไร้คนขับนั้น หากพิจารณาจากคำจำกัดความของคำว่า “เรือ” ที่ปรากฏอยู่ในอนุสัญญาระหว่างประเทศฉบับต่าง ๆ และกฎหมายภายในของแต่ละประเทศ รวมถึงประเทศไทย ไม่พบว่ามีกฎหมายฉบับใดกล่าวถึงลักษณะของเรือไร้คนขับไว้เป็นการเฉพาะ หรือกล่าวถึงปัจจัยในแง่การมีคนประจำเรืออยู่บนเรือเพื่อใช้ประกอบในการพิจารณานิยามของคำว่า “เรือ” แต่อย่างไรก็ตามแม้ลักษณะของเรือไร้คนขับจะมิได้ขัดหรือแบ่งกับคำจำกัดความของ “เรือ” ภายใต้กฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน แต่ก็อาจมีความไม่ชัดเจนในทางกฎหมายภายใต้การตีความของศาลในแต่ละประเทศ ผู้วิจัยจึงเสนอแนะว่า ควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมคำจำกัดความของคำว่า “เรือ” ในกฎหมายทั้งในระดับอนุสัญญาระหว่างประเทศและกฎหมายภายในที่เกี่ยวข้องกับการเดินเรือและกิจการพาณิชยนาวีให้ครอบคลุมถึงเรือไร้คนขับประเภทต่าง ๆ ด้วย ส่วนในประเด็นหน้าที่ของผู้ขนส่งในการทำให้เรืออยู่ในสภาพปลอดภัยภายใต้สัญญารับขนสินค้าทางทะเล พบว่าเนื่องด้วยลักษณะการทำงานที่แตกต่างกันอย่างมากระหว่างเรือที่ใช้ในปัจจุบันกับเรือไร้คนขับ อาจส่งผลกระทบต่อหน้าที่ของผู้ขนส่งโดยเฉพาะหน้าที่ในการจัดหาคนประจำเรือให้เหมาะสมทั้งในเชิงจำนวนและความสามารถตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งหากไม่มีการแก้ไขกฎหมายที่ใช้อยู่อาจนำไปสู่ความรับผิดของผู้ขนส่งจากการใช้เรือไร้คนขับ ดังนั้นผู้วิจัยจึงเสนอแนะว่าควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติที่เกี่ยวกับสภาพที่ปลอดภัยของเรือและหน้าที่ของผู้ขนส่งที่เกี่ยวข้องกับการใช้เรือขนส่งสินค้าประเภทไร้คนขับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการไม่จำเป็นต้องกำหนดให้มีคนประจำเรืออยู่บนเรือทุกกรณี โดยให้ศาลพิจารณาหน้าที่ดังกล่าวให้สอดคล้องกับประเภทของเรือที่ใช้ รวมทั้งปรับปรุงแก้ไขกฎข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการตรวจเรือ หลักสูตรฝึกอบรมและการให้ประกาศนียบัตรโดยเพิ่มเติมคุณสมบัติที่จำเป็นเพื่อให้สอดคล้องกับรูปแบบการปฏิบัติงานที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้เพื่อสร้างความชัดเจนแน่นอนในทางกฎหมาย ลดปัญหาข้อพิพาทที่จะเกิดขึ้นในอนาคตและแสดงให้เห็นถึงการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมการขนส่งสินค้าทางทะเล
รายละเอียด: สนับสนุนโดยทุนอุดหนุนการวิจัยและนวัตกรรม คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10288
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2567_125.pdf4.49 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น