กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10283
ชื่อเรื่อง: การจัดการเรียนการสอนอีเลิร์นนิงแบบชี้แนะส่งผลต่อการเรียนรู้ของนิสิตกายภาพบำบัดชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยบูรพา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Learning Activity of E-learning By Using Direct Instruction on Learning Outcome of Second Year Physical Therapy Students Burapha University
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นงนุช ล่วงพ้น
ศิริรัตน์ เกียรติกุลานุสรณ์
กุลธิดา กล้ารอด
สานิตา สิงห์สนั่น
พรพรหม สุระกุล
คำสำคัญ: ระบบการเรียนการสอน (อุดมศึกษา)
การเรียนการสอนผ่านเว็บ
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
อีเลิร์นนิ่ง
วันที่เผยแพร่: 2565
สำนักพิมพ์: คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยในห้องเรียนมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนของนิสิตกายภาพบำบัดที่เรียนรายวิชาประสาทวิทยาศาสตร์ที่เรียนแบบอีเลิร์นนิงแบบชี้แนะและแบบ ปกติ 2. เพื่อศึกษาผลการปฏิบัติงานของนิสิตที่เรียนด้วยการเรียนแบบอีเลิร์นนิงแบบชี้แนะ รายวิชา ประสาทวิทยาศาสตร์สำหรับกายภาพบำบัดและแบบปกติ 3. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ของนิสิตที่ เรียนด้วยการเรียนแบบอีเลิร์นนิง แบบชี้แนะ รายวิชาประสาทวิทยาศาสตร์สำหรับกายภาพบำบัดและแบบ ปกติ 4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนิสิตที่เรียนด้วยการเรียนแบบอีเลิร์นนิงแบบชี้แนะรายวิชาประสาท วิทยาศาสตร์สำหรับกายภาพบำบัดและแบบปกติ โดยศึกษาในกลุ่มนิสิตกายภาพบำบัดชั้นปีที่ 2 สาขาวิชา กายภาพบำบัดรหัส 64 จำนวน 47 คน หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชากายภาพบำบัด หลักสูตร ปรับปรุง พ.ศ. 2560 ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา 68321260 ประสาทกายวิภาคศาสตร์ สำหรับ กายภาพบำบัด จำนวนหน่วยกิต 2(2-0-4) ในภาคการศึกษาต้นปีการศึกษา 2565 โดยแบ่งนิสิตออกเป็น 2 กลุ่ม คือเรียนแบบอีเลิร์นนิงแบบชี้แนะ จำนวน 23 คน และกลุ่มที่เรียนปกติ จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการเรียนด้วยวิธีการเรียนแบบอีเลิร์นนิงแบบชี้แนะ ทั้ง 3 เรื่อง บทเรียนอีเลิร์นนิงแบบชี้แนะ ทั้ง 3 เรื่อง แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ของนิสิต แลลประเมินผลการปฏิบัติงานของนิสิต แบบประพฤติกรรมการ เรียนรู้ของนิสิต แบบสอบถามความพึงพอใจของนิสิตต่อการจัดการเรียนการสอนซึ่งข้อมูลที่ได้ถูกวิเคราะห์ ข้อมูลดยใช้ค่าเฉลี่ยน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที (t-test) ผลการศึกษาพบว่า ด้านการ ปฏิบัติงาน พฤติกรรมการเรียน และความพึงพอใจของทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกัน แต่ผลผลสัมฤทธิ์ ของการจัดการเรียนการสอนทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 0.001 ซึ่งแสดงให้เห็นว่ากลุ่มที่เรียนผ่านอีเลิร์นนิงแบบชี้แนะมีผลสัมฤทธิ์การเรียนดีกว่าเนื่องมาจากนิสิต สามรถเข้าไปทบทวนเนื้อหาบทเรียนได้ตลอดเวลา และทุกที่เท่าที่ต้องการ จึงเป็นวิธีการจัดการเรียนการ สอนทางเลือกที่ดีในช่วงการแพร่ระบาดของโคโรนา 2019
รายละเอียด: ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัย ประเภทเงินรายได้ ประจำปีงบประมาณ 2564 คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10283
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2567_080.pdf4.31 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น