กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10269
ชื่อเรื่อง: | การศึกษาจริยธรรมและกลวิธีการนำเสนอตัวละครเอกชายในนวนิยายชุดสุภาพบุรุษจอมโจร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | A study of ethics and main male character presentation in the novel collection named “Supaap Burus Jomjone” |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | จุฑามาศ ศรีระษา |
คำสำคัญ: | ตัวละครและลักษณะนิสัย จริยศาสตร์ จริยธรรม นวนิยายไทย - - แง่สังคม |
วันที่เผยแพร่: | 2565 |
สำนักพิมพ์: | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาจริยธรรมและกลวิธีการนำเสนอตัวละครเอกชายที่ปรากฏในนวนิยายชุดสุภาพบุรุษจอมโจร ผู้วิจัยได้นำทฤษฎีต้นไม้จริยธรรมของศาสตราจารย์ ดร. ดวงเดือน พันธุมนาวิน และคู่มือการพัฒนาและส่งเสริมการปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมข้าราชการพลเรือน ของสำนักงาน ก.พ. มาเป็นกรอบในการวิเคราะห์ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเอกสารและเสนอผลการศึกษา ด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า การศึกษาด้านพฤติกรรมทางจริยธรรมของตัวละครเอกชายปรากฏ2 พฤติกรรม ได้แก่ 1. พฤติกรรมของคนดี และ 2. พฤติกรรมของคนดีและคนเก่ง ด้านสาเหตุทางจิตใจ พบ 5 ประการ ได้แก่ 1. เหตุผลเชิงจริยธรรม 2. มุ่งอนาคตและการควบคุมตนเอง 3. ความเชื่ออำนาจในตน 4. แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และ 5. ทัศนคติ คุณธรรม และค่านิยม และด้านพื้นฐานทางจิตใจ พบ 3 ประการ ได้แก่ 1. สติปัญญา 2. ประสบการณ์ทางสังคม และ 3. สุขภาพจิตดี จริยธรรมที่ปรากฏในตัวละครเอกชายดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าพฤติกรรมทางจริยธรรม สาเหตุทางจิตใจ และพื้นฐานทางจิตใจล้วนมีความสัมพันธ์ เชื่อมโยง และไม่สามารถขาดส่วนใดส่วนหนึ่งได้ สะท้อนให้เห็นว่าบุคคลจะเจริญเติบโตพัฒนาเป็นคนดีมีจริยธรรมย่อมต้องผ่านกระบวนการการขัดเกลา ประสบการณ์ รวมถึงพื้นที่และโอกาสให้บุคคลได้แสดงความดีและความสามารถ ซึ่งตัวละครเอกชายถือเป็นแบบอย่างในการแสดงพฤติกรรมทางจริยธรรม พร้อมทั้งทำให้ผู้อ่านเห็นว่าผู้มีจริยธรรมย่อมได้รับสิ่งดีมาสู่ชีวิตของตนและผู้อื่น ด้านกลวิธีการนำเสนอตัวละครเอกชาย พบทั้งหมด 8 กลวิธีได้แก่ 1. ฝาแฝด: ความเหมือนที่ไม่เหมือนของตัวละครเอกชาย 2. ฉากท้องถิ่นและต่างแดน: พื้นที่การนำเสนอความสามารถและความรักของตัวละครเอกชาย 3. ตำนานหรือเรื่องเล่า: การบ่งบอกลักษณะของตัวละครเอกชาย 4. เหตุการณ์จริงทางประวัติศาสตร์: การเชื่อมโยงการกระทำของตัวละครเอกชาย 5. บุคคลสำคัญ: รูปลักษณ์ของตัวละครเอกชาย 6. มีดคูกรี: สัญลักษณ์แทนมิตรภาพของตัวละครเอกชาย 7. เพลงรัก: ท่วงทำนองความรู้สึกของตัวละครเอกชาย และ 8. สมุนไพร การเล่นคาถาอาคม การสักยันต์ พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ ฤกษ์ยาม และของขลัง: ความเป็นท้องถิ่นของตัวละครเอกชาย กลวิธีการนำเสนอตัวละครเอกชายเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ผู้อ่านเห็นภาพและเข้าใจพฤติกรรมทางจริยธรรมของตัวละครเอกชายได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ตลอดจนแสดงให้เห็นความสามารถของผู้เขียนที่สามารถเลือกใช้กลอุปกรณ์ในการนำเสนอจุดเด่นและตัวตนของตัวละครเอกชายได้เป็นอย่างดี |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10269 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2567_060.pdf | 3.19 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น