กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10263
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorสมบัติ ธำรงสินถาวร-
dc.date.accessioned2023-10-05T04:05:07Z-
dc.date.available2023-10-05T04:05:07Z-
dc.date.issued2566-
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10263-
dc.description.abstractการสร้างระดับความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคเป็นเรื่องที่สำคัญประเด็นหนึ่งในการส่งเสริมการซื้อและการบริโภคสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อมที่มากขึ้นและนำไปสู่การแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันและจากการทบทวนวรณกรรมที่ผ่านมา พบว่ามีประเด็น 2 ประเด็น ที่ยังมีงานวิจัยทำการศึกษาอยู่ไม่มากนัก โดยประเด็นแรกคือตัวแบบที่ง่ายของความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดลอ้มของผู้บริโภคที่มีการพิจารณาถึงตัวแปรต้นและตัวแปรตามของความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคและประเด็นที่สองคือยังมีงานวิจัยอยู่ไม่มากนักที่นำเสนอตัวแปรทัศนคติของผู้บริโภคต่อราคาสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อมและทัศนคติของผู้บริโภคต่อความสะดวกสบายในการซื้อสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อมในฐานะตัวแปรกำกับด้วยการนำเสนอตัวแบบความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคและการทดสอบเชิงประจักษ์ของตัวแบบนี้ด้วยข้อมูลจากการวิจัยเชิงปริมาณด้วยเทคนิคการวิจัยเชิงสำรวจ ผลการวิจัย พบว่า ตัวแบบอย่างง่ายของความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคมีระดับความเข้ากันได้ของตัวแบบอยู่ในระดับที่เหมาะสมและพบความสัมพันธ์หลายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในตัวแบบนี้ที่มีนัยสำคัญทางสถิติ นั่นคือผลการวิจยัพบค่าดัชนีความเข้ากันได้ดังนี้ดังนี้คือ ค่า χ2/ df ที่2.282 และ ค่า IFI, CFI, NFI และ TLI ที่เกินค่า 0.88 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเข้ากันได้ของตัวแบบอยู่ในระดับที่เหมาะสม สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในตัวแบบนี้พบว่า อิทธิพลของตัวแปรนี้ ซึ่งคือ แรงจูงใจเชิงจิตใจตนเองด้านความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม แรงจูงใจเชิงสัมพันธ์ด้านความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดลอ้มและแรงจูงใจเพื่อสังคมด้านรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมไปยังตัวแปรความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติขณะที่ผลการวิจัยพบว่า อิทธิพลของตัวแปรทัศนคติต่อราคาสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อมในฐานะตัวแปรกำกับส่งผลกระทบต่อ ผลกระทบของความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคไปยังตัวแปรตามซึ่งคือตัวแปรความตั้งใจซื้อสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อมและตัวแปรการบอกต่อถึงสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อมในเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติขณะที่ผลการวิจัยพบว่า ทัศนคติต่อความสะดวกสบายในการซื้อสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อมส่งผลกระทบอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติในฐานะตัวแปรกำกับไปยังผลกระทบของความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคไปยังตัวแปรตาม ด้วยผลการวิจัยโดยสรุปข้างต้น งานวิจัยนี้ได้นำเสนอการอภิปรายผลการวิจัย ประโยชน์ของการวิจัยในเชิงทฤษฎี ประโยชน์ของการวิจัยเชิงการจัดการและการนำเสนอทิศทาง สำหรับการทำวิจัยในอนาคตth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectพฤติกรรมผู้บริโภคth_TH
dc.subjectความตั้งใจซื้อth_TH
dc.titleตัวแบบความสัมพันธ์ของความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคกับความตั้งใจซื้อสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อมด้วยทัศนคติต่อราคาและความสะดวกสบายในการซื้อสินค้า เพื่อสิ่งแวดล้อมth_TH
dc.title.alternativeThe relationship model of consumer’s environment responsibility and intention to buy green products with the attitude toward the price of green products and attitude toward the convenience to buy green productsth_TH
dc.typeResearchth_TH
dc.author.emailsombatt@buu.ac.thth_TH
dc.year2566th_TH
dc.description.abstractalternativeCreating the higher level of consumer environmental responsibility is one of important issues affecting to the higher levels of consumer’s green products buying, leading to reduce the environmental problems. Moreover, from the past literature reviews, there are two main gaps in literatures related to consumer environmental responsibility. The first gap is that lacking papers studying the simplified model of consumer environmental responsibility considering the antecedents and consequences of consumer environmental responsibility. The second gap is that there are little papers studying the attitude toward the price of green product and the attitude toward the convenience to buy green products as the moderating variables. By proposing the model of consumer environmental responsibility and empirical testing the proposed model of consumer environmental responsibility with data from survey research technique, the research result found that the simplified model of consumer environmental responsibility was appropriate fit with the level of model fit index values are above critical values and found the several relationships among the variables in this model. That is, χ2/ df fit index was around 2.282 and IFI, CFI, NFI and TLI fit index values were above 0.88. For testing the relationship among all variables in the model, the research found the significantly positive effects of antecedents, which is instrumental motivation, relational motivation and societal motivation, to the consumer environmental responsibility. Furthermore, the research found the significantly positive effects of consumer environmental responsibility to the consequences, which were purchase intention for green products and word-of mouth for green products. Moreover, the research found the significantly negative moderating effect of attitude toward the price of green products to the effect of consumer environmental responsibility to its consequences, which were purchase intention for green products and word-of-mouth for green products. However, the research found the insignificantly moderating effect of attitude toward the convenience to buy green products to the effect of consumer environmental responsibility to its consequences. Basing on the research findings, the research discussion, the theoretical contribution, managerial implications and future research directions are proposed.th_TH
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2567_053.pdf2.69 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น