กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10254
ชื่อเรื่อง: | การเสริมสร้างพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่นด้วยการปรึกษาครอบครัวเชิงบูรณาการ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The enhncement prening behviors of prents with teenge children through integrtive fmily counseling |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เพ็ญนภา กุลนภาดล ประชา อินัง สุวัชราพร สวยอารมณ์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก การดูแลเด็ก -- การมีส่วนร่วมของบิดามารดา มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา การดูแลเด็ก |
วันที่เผยแพร่: | 2565 |
สำนักพิมพ์: | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่น และ 2) พัฒนาโปรแกรมการปรึกษาครอบครัวเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิค โดยมีทฤษฎีพฤติกรรมนิยมเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่น 3) ศึกษาผลการใช้โปรแกรมการปรึกษาครอบครัวเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิค โดยมีทฤษฎี พฤติกรรมนิยมเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่น การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่นในประเทศไทย จาก 6 ภูมิภาค จํานวน 1,350 คน ขั้นตอนที่ 2 พัฒนาโปรแกรมการปรึกษาครอบครัวเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิค โดยมีทฤษฎีพฤติกรรมนิยมเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่น จํานวน 10 ครั้ง ครั้งละ 60-90 นาที ขั้นตอนที่ 3 การศึกษาผลการใช้โปรแกรมการปรึกษาครอบครัวเชิงบูรณาการทฤษฎี และเทคนิค โดยมีทฤษฎีพฤติกรรมนิยมเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่น จํานวน 16 ครอบครัว ในจังหวัดฉะเชิงเทรา ทําการสุ่มอย่างง่ายแบ่งเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 8 ครอบครัว โดยมีเกณฑ์การคัดเข้ากลุ่มตัวอย่าง ดังนี้ เป็นพ่อแม่ที่มีความสมัครใจในการเข้าร่วมการทดลอง และมีคะแนนพฤติกรรมพ่อแม่ตั้งแต่ ระดับน้อยลงมา ( X < 4.07) เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบวัดพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่น มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.896 และโปรแกรมการปรึกษาครอบครัวเชิงบูรณาการทฤษฎี และเทคนิค โดยมีทฤษฎีพฤติกรรมนิยมเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่น สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวน สองทางแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัยพบว่า 1. พฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่นมากที่สุด ( X = 4.24) และภาคตะวันตกมีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่นน้อยที่สุด ( X = 4.07) 2. โปรแกรมการปรึกษาครอบครัวเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิค โดยมีทฤษฎี พฤติกรรมนิยมเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่น พัฒนาจากแนวคิดทฤษฎีและเทคนิคต่าง ๆ ของทฤษฎีการปรึกษาครอบครัวพฤติกรรมนิยม 3. ผลการใช้โปรแกรมการปรึกษาครอบครัวเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิค โดยมีทฤษฎีพฤติกรรมนิยมเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่น พบว่า 1) กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการปรึกษาครอบครัวเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิค โดยมีทฤษฎีพฤติกรรมนิยมเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่น มีคะแนนพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) กลุ่มทดลองที่ได้รับ โปรแกรมการปรึกษาครอบครัวเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิค โดยมีทฤษฎีพฤติกรรมนิยม เป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่น มีคะแนนพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ ในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่าระยะก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
รายละเอียด: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2565 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10254 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
58810191.pdf | 2.16 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น