กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10249
ชื่อเรื่อง: | การออกแบบผลิตภัณฑ์ของใช้และของประดับตกแต่งจากภูมิปัญญาถักทอผสมเส้นใยก้านโหม่งต้น จากชุมชนอ่างเตย ตำบลท่าตะเกียบ อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The product design of using nd decortions with the weve knowledge from Nip plm fiber Angtei community, Thtkieb, Chchoengso |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ชัยยศ วนิชวัฒนานุวัติ เกรียงศักดิ์ เขียวมั่ง จุฬาวรรณ ดีเลิศ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การทอผ้า -- การออกแบบ มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ การทอผ้า |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาการใช้ประโยชน์จากเส้นใยก้านโหม่งของต้นจากผสมกับการทอผ้าของชุมชนอ่างเตย ตำบลท่าตะเกียบ อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา 2) ทดลองนำเส้นใยจากเส้นใยก้านโหม่งของต้นจากเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ 3) ออกแบบผลิตภัณฑ์ของใช้และของประดับตกแต่งจากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักวิชาการผู้ประกอบการและผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์รวมจำนวน 106 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x̄) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่าการออกแบบผลิตภัณฑ์ของใช้และของประดับตกแต่งจากภูมิปัญญาทอผ้าผสมเส้นใยก้านโหม่งต้นจากชุมชนอ่างเตย ตำบลท่าตะเกียบ อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ศึกษาการใช้ประโยชน์และทดลองนำเส้นใยจากก้านโหม่งของต้นจากผสมกับภูมิปัญญาการทอผ้าจากชุมชนอ่างเตย จากการสำรวจและสัมภาษณ์ผู้ประกอบการและผู้จัดจำหน่ายแบ่งเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้ กระบวนการเกี่ยวกับเส้นใยและลายผ้าภูมิปัญญาทอผ้า ส่วนที่ 2 การวิเคราะห์พฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ของชุมชนอ่างเตย พบว่า มีความสนใจ กลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทกระเป๋ามากที่สุด ร้อยละ 40 พฤติกรรมในการเลือกรูปแบบผลิตภัณฑ์กระเป๋ามากที่สุด กระเป๋าเป้คิดเป็นร้อยละ 12 กระเป๋ามีสายคล้องข้อมือคิดเป็นร้อยละ 9 กระเป๋าทรงนักเรียน คิดเป็นร้อยละ 8 กระเป๋าทรงจีบ คิดเป็นร้อยละ 7 กระเป๋าทรงสี่เหลี่ยม คิดเป็นร้อยละ 7 และความพึงพอใจเกี่ยวกับสีของผลิตภัณฑ์กระเป๋า วรรณะสีร้อนมากที่สุด สีส้มเหลืองร้อยละ 42 วรรณะสีเย็น มากที่สุด สีเขียวร้อยละ 38 ส่วนที่ 3 การวิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์โดยแบ่งเป็น 3 ด้าน คือ 1) ด้านลักษณะเฉพาะถิ่น 2) ด้านประโยชน์ใช้สอย 3) ด้านความงาม โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̄= 4.31) |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2564 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10249 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
59920401.pdf | 7.41 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น