กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10241
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorเนตรดาว ชัยเขต
dc.contributor.authorพัชรียา บรรจุสุข
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะการจัดการและการท่องเที่ยว
dc.date.accessioned2023-09-18T07:56:57Z
dc.date.available2023-09-18T07:56:57Z
dc.date.issued2564
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10241
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2564
dc.description.abstractงานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรับผิดชอบต่อสังคม และธรรมาภิบาลต่อผลตอบแทนของผู้มีส่วนได้เสียของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) โดยแบ่งผู้มีส่วนได้เสียออกไป 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) บริษัทซึ่งวัดผลตอบแทนจากอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ROA) ในอนาคต และมูลค่าตลาด (Tobin’s Q) ในอนาคต 2) พนักงาน ซึ่งวัดผลตอบแทนจากอัตราผลตอบแทนพนักงาน (Compensation) ในอนาคต และ 3) ผู้ถือหุ้น ซึ่งวัดผลตอบแทนจากอัตราผลตอบแทนจากส่วนของเจ้าของ (ROE) ในอนาคต และอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล (Dividend Yield) ในอนาคต ตัวแปรควบคุม คือ ขนาดกิจการ อายุ การเป็นบริษัทมหาชนจำกัด และอุตสาหกรรมใช้ตัวอย่างจำนวน 1,188 ตัวอย่าง และทดสอบ สมมติฐานด้วยวิธีการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า บริษัทที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมมีแนวโน้มในการให้ผลตอบแทนที่ดีต่อผู้มีส่วนได้เสียที่เป็นบริษัท พนักงาน และผู้ถือหุ้น ในส่วนของบริษัทพบว่า บริษัทที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมโดยเฉลี่ยมีแนวโน้มที่อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ROA) ในอนาคตจะ มากกว่าบริษัทที่ไม่มีความรับผิดชอบต่อสังคม แต่จะมีมูลค่าตลาด (Tobin’s Q) ในอนาคตน้อยกว่าบริษัทที่ไม่มีความรับผิดชอบต่อสังคม ในส่วนของพนักงานพบว่า บริษัทที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมโดยเฉลี่ย มีแนวโน้มที่อัตราผลตอบแทนพนักงาน (Compensation) ในอนาคตจะมากกว่าบริษัทที่ไม่มีความรับผิดชอบต่อสังคม และในส่วนของผู้ถือหุ้น พบว่าบริษัทที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมโดยเฉลี่ย มีแนวโน้มที่อัตราผลตอบแทนจากส่วนของเจ้าของ (ROE) ในอนาคต และอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล (Dividend Yield) ในอนาคตจะมากกว่าบริษัทที่ไม่มีความรับผิดชอบต่อสังคม ดังนั้น แม้ว่าการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมจะทำให้ต้นทุนในการดำเนินงานเพิ่มขึ้นแต่ต้นทุนนั้น มีแนวโน้มที่จะส่งผลตอบแทนที่ดีต่อผู้มีส่วนได้เสียทั้งบริษัทพนักงาน และผู้ถือหุ้นในอนาคต
dc.language.isoth
dc.publisherคณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectธรรมรัฐ
dc.subjectบรรษัทภิบาล
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- คณะการจัดการและการท่องเที่ยว
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างความรับผิดชอบต่อสังคมและธรรมาภิบาลต่อผลตอบแทนของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กรณีศึกษา : บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)
dc.title.alternativeReltionships between corporte socil responsibility, nd its good governnce nd its stkeholders’ return: cse study of the compnies listed on the stock exchnge of thilnd (set)
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this study were to identify the relationships between corporate social responsibility, as well as its good governance and its stakeholders’ return for the companies listed on the Stock Exchange of Thailand (SET) in which their stakeholders were divided into 3 groups as follows: 1) the companies which returns were measured from future return on assets (ROA) and future market value (Tobin’ Q) 2) the employees whose returns were measured from future compensation 3) the shareholders whose return were measured from return on equity (ROE) and dividend yield in the future. Business size and duration of being a limited public company and industry were employed as the study’s control factors, whereas its samples were 1,188 samples, and Multiple Linear Regression Analyses was used for testing of its hypotheses. The findings revealed that the companies with social responsibility were likely to yield good return to their stakeholders: companies, employees and shareholders. Regarding the companies, on average, those with social responsibility were likely to yield more future return on assets (ROA) but possessed less future market values (Tobin’s Q) than those without social responsibility. Regarding the employees, on average, those with social responsibility were likely to yield more future compensation than those without responsibility. Regarding the shareholders, on average, those with social responsibility were likely to have more future return on equity (ROE) and future dividend yield than those with social responsibility. Therefore, despite the higher operating costs, the companies with social responsibility were likely to yield good benefits to their stakeholders in terms of companies, employees, and shareholders in the future.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineคณะการจัดการและการท่องเที่ยว
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:I-thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
60920174.pdf1.16 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น