กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10230
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาโปรแกรมการกระตุ้นประสานสัมพันธ์ตาและมือในการเพิ่มความจำขณะคิดด้านภาพและมิติสัมพันธ์ของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 : การศึกษาคลื่นไฟฟ้าสมอง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of eye-hnd coordinte ctivities progrm of incresing visuosptil working memory in elderly with dibetes melitus type 2: electroenecephlogrm study
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภัทราวดี มากมี
ปรัชญา แก้วแก่น
นิตยา สุริยะพันธ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
การกระตุ้นประสาทสัมผัส
เบาหวานในวัยสูงอายุ
วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษากลุ่มสหวิทยาเขตชลบุรี 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง 2) ศึกษาประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษากลุ่มสหวิทยาเขตชลบุรี 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรีระยอง 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารกับประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษากลุ่มสหวิทยาเขตชลบุรี 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรีระยอง กลุ่มตัวอย่างคือข้าราชการครูโรงเรียน มัธยมศึกษากลุ่มสหวิทยาเขตชลบุรี 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรีระยอง ปีการศึกษา 2564 โดยกำหนดขนาดตัวอย่างจากของ Krejcie & Morgan (1970, pp. 608-610) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 217 คน จากนั้น ดำเนินการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) ตามขนาดโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ โดยด้านภาวะผู้นำทางวิชาการ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง 0.55-0.87 และด้านประสิทธิผลของโรงเรียน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง 0.29-0.77 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ คะแนนเฉลี่ย (X̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson product-moment correlation coefficient) ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษากลุ่มสหวิทยาเขตชลบุรี 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรีระยองโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากโดยเรียงลำดับค่าคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้การพัฒนาความก้าวหน้าในวิชาชีพครูการ ประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน การจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการนิเทศการสอน การกำหนดพันธกิจของโรงเรียน และการพัฒนาหลักสูตร 2. ประสิทธิผลโรงเรียนมัธยมศึกษากลุ่มสหวิทยาเขตชลบุรี 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรีระยอง โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากโดยเรียงลำดับค่าคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูความสามารถในการผลิตนักเรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงความสามารถในการปรับเปลี่ยนและพัฒนาโรงเรียน และความสามารถในการแก้ปัญหาภายในโรงเรียน 3. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารกับประสิทธิผลของ โรงเรียนมัธยมศึกษากลุ่มสหวิทยาเขตชลบุรี 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรีระยอง มีความสัมพันธ์กันในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2564
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10230
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
62810059.pdf7.47 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น