กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10223
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาวิธีการประเมินภาวะพร่องทางปัญญาขั้นต้นโดยใช้พหุกิจกรรมควบคู่กับการวัดคลื่นไฟฟ้าสมองในผู้สูงอายุไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development the procedure for ssessing mild cognitive impirment in thi older dult by using multi -tsk incorporting electroencephlogrphy mesurement
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ยุทธนา จันทะขิน
พีร วงศ์อุปราช
ไพจิตร พุทธรอด
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา
คำสำคัญ: ความบกพร่องทางสติปัญญา
คลื่นไฟฟ้า
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
ผู้สูงอายุ
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การประเมินภาวะพร่องทางปัญญาที่ผ่านมามีข้อจำกัดทั้งในประเด็นเรื่องความไม่สอดคล้องกับทฤษฎีหลักในทุกมิติ และขาดความสามารถในการประเมินกระบวนการทางปัญญาที่เกี่ยวเนื่องกับภาวะพร่องทางปัญญาอย่างเฉพาะเจาะจง การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อออกแบบกิจกรรมทดสอบคอมพิวเตอร์สำหรับประเมินภาวะพร่องทางปัญญาแบบพหุกิจกรรมกับการวัดคลื่นไฟฟ้าสมองสำหรับผู้สูงอายุไทยและเปรียบเทียบคลื่นไฟฟ้าสมองขณะทำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ประเมินภาวะพร่องทางปัญญาแบบพหุกิจกรรมของผู้สูงอายุไทย ในผู้สูงอายุ 3 กลุ่ม โดยกลุ่มตัวอย่าง เป็นอาสาสมัครผู้สูงอายุ 60 - 80 ปีที่อาศัยอยู่ในตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จำนวน 90 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความรุนแรงภาวะสมองเสื่อม แบบทดสอบสภาพสมอง เบื้องต้นฉบับภาษาไทย และเครื่องบันทึกเครื่องไฟฟ้าสมอง Neuroscan วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม และคำนวณขนาดอิทธิพลของความแตกต่าง ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) โปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเมินภาวะพร่องทางปัญญาแบบพหุกิจกรรม ประกอบด้วย 3 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 พหุกิจกรรมความสอดคล้องของภาพและเสียง กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมเรียกคืนความจำภาพ และกิจกรรมที่ 3 กิจกรรมเรียกคืนความจำเสียง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้รับการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญและมีความเหมาะสมสำหรับการใช้งาน 2) ผลรวมสัดส่วนค่าคะแนนความถูกต้อง กิจกรรมที่ 1 พหุกิจกรรมความสอดคล้องของภาพและเสียง และกิจกรรมที่ 3 กิจกรรมเรียกคืนความจำเสียง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลรวมค่าเฉลี่ยเวลาการตอบสนองทั้ง 3 กิจกรรมไม่แตกต่างกัน 3) ค่าเฉลี่ยพลังงานสัมพัทธ์ของคลื่นไฟฟ้าสมองขณะทำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเมินภาวะพร่องทางปัญญาแบบพหุกิจกรรม ช่วงความถี่เบต้า ณ ตำแหน่งบริเวณสมองที่บริเวณสมองส่วนขมับซ้าย และช่วงความถี่แกมม่า ณ ตำแหน่งบริเวณสมองส่วนขมับ และส่วนขมับซ้ายมีความแตกต่างกัน 4) ค่าเฉลี่ยความสูงและความกว้างของศักย์ไฟฟ้าสมองสัมพันธ์กับเหตุการณ์ N200 และ P300 ปรากฏว่า บริเวณสมองส่วนหน้า ส่วนกลาง ส่วนพาไรเอทัล และสมองส่วนขมับ ณ ตำแหน่ง FZ F5 CP5 P5 P6 T7 และ T8 ของกลุ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะพร่องแตกต่างกัน
รายละเอียด: ดุษฎีปรัชญา (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2564
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10223
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
59810086.pdf7.76 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น