กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10202
ชื่อเรื่อง: การประยุกต์ใช้หลักเศรษฐศาสตร์การเคลื่อนไหวในการปรับปรุงวิธีการทำงานเพื่อลดความเสี่ยงท่าทางการทำงานของพนักงานบรรจุม้วนสายไฟในโรงงานอุตสาหกรรมแห่งหนึ่ง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The ppliction of motion economy principle for working method improvement to reduce working posture risk mong cble wire pcking fctory workers
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปวีณา มีประดิษฐ์
ทนงศักดิ์ ยิ่งรัตนสุข
ศรีนวล ตุ้มมี
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
คำสำคัญ: การทำงาน -- การวางแผน
เศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม
การทำงาน
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้หลักเศรษฐศาสตร์การเคลื่อนไหวในการปรับปรุงวิธีการทำงานเพื่อลดความเสี่ยงท่าทางการทำงานของพนักงานบรรจุม้วนสายไฟที่ยินดีเข้าร่วม จำนวน 10 คน เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมานในการวัดและเปรียบเทียบผลก่อนและหลังปรับปรุงวิธีการทำงาน โดยการศึกษาขั้นตอนการทำงานด้วยแผนภูมิกระบวนการไหล (Flow Process Chart) และการประเมินความเสี่ยงท่าทางการทำงานด้วยแบบประเมิน Rapid Entire Body Assessment (REBA) ผลการศึกษา พบว่า ขั้นตอนการทำ งานมีท่าทางการเคลื่อนไหวที่มีไม่เหมาะสม คือ การบิด/หัก/งอข้อมือการเอื้อม การยกแขน และไหล่การออกแรงในการยก/เคลื่อนย้ายการก้ม/บิด/เอี้ยวลำตัว การก้ม/บิด/เอียงคอการงอเข่าการยืนแบบลงน้ำหนักที่ขาข้างเดียวและการยืนทำงานต่อเนื่องในระยะเวลานาน โดยมีจำนวนสัญลักษณ์ท่าทางการเคลื่อนไหวที่ไม่เหมาะสมหลังการปรับปรุงลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p-value < .05 คือ ข้อมือบิดงอข้อมือหักงอ มือและแขนเอื้อม (p-value = .008, .005, .025) คอบิดเอียง ลำตัวบิดเอี้ยว (p-value = .008, .014) ลำตัวก้ม เข่างอการยืน แบบลงน้ำ หนักที่ขาข้างเดียว (p-value = .002) และพนักงานยืนรอม้วนสายไฟ (p-value = .025) ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบคะแนนความเสี่ยงด้วยแบบประเมิน REBA พบว่าคะแนนความเสี่ยงหลังการปรับปรุงวิธีการทำงานมีค่าเท่ากับ 7 คะแนนซึ่งน้อยกว่าก่อนการปรับปรุงวิธีการทำงานที่มีคะแนนเท่ากับ 13 คะแนน ทำให้ท่าทางการทำงานมีระดับความเสี่ยงลดลงจากความเสี่ยงสูงมากเป็นความเสี่ยงปานกลาง ดังนั้น การประยุกต์ใช้หลักเศรษฐศาสตร์การเคลื่อนไหวในการปรับปรุงวิธีการทำงานสามารถลดความเสี่ยงของท่าทางการทำงานอาจ ส่งผลกระทบต่อความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกของคนงานในอนาคตได้
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2564
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10202
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
62920058.pdf4.01 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น