กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1019
ชื่อเรื่อง: การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเป็นโรคกระดูกโปร่งบางของสตรีวัยก่อนและหลังหมดประจำเดือนและวัยสูงอายุ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting osteoporosis of pre and postmenopausal and aging women
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อารีรัตน์ สังวรวงษ์พนา
ฉันทนา จันทวงศ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: กระดูก - - โรค
กระดูกพรุน - - โรค
ผู้สูงอายุ
ระดู
วัยหมดระดู
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2544
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเป็นโรคกระดูกโปร่งบาง และค้นหาปัจจัยทำนายการเกิดโรคกระดูกโปร่งบาง ในสตรีวัยก่อนและหลังหมดประจำเดือนและวัยสูงอายุ กลุ่มตัวอย่าง คือ สตรที่มีอาขุระหว่าง 40-86 ปี (อายุเฉลี่ย 54.33 ปี, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ± 8.11) เป็นสตรีวัยก่อนหมดประจำเดือน วัยหลังหมดประจำเดือนและวัยสูงอายุ ซึ่งมารับการตรวจหาค่าความหนาแน่นของกระดูก ณ หน่วยเวชศษสตร์นิวเคลียร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ในช่วงเดือนเมษายน-พฤศจิกายน 2542 จำนวน 377 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยระบบคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for window version 8 สถิติที่ใช้บรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการหาปัจจัยทำนายโรคกระดูกโปร่งบางใช้สถิติ discriminant analysis ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเป็น osteoporosis ของสตรีวัยก่อนและหลังหมดประจำเดือนและวัยสูงอายุ เป็นดังนี้ คือ ถ้าไม่ได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนเสริมมีโอกาสเข้าไปอยู่ในกลุ่ม osteoporosis เพิ่มขึ้น 1.0608 เท่า ถ้าอายุเพิ่มขึ้นมีโอกาสเข้าไปอยู่ในกลุ่ม osteoporosis เพิ่มขึ้น 0.0173 เท่า ถ้าน้ำหนักเพิ่มขึ้นมีโอกาสเข้าไปอยู่ในกลุ่ม osteoporosis เพิ่มขึ้น 0.0595 เท่า ถ้าใช้ยา steroid มีโอกาสเข้าไปอยู่ในกลุ่ม osteoporosis เพิ่มขึ้น 1.6504 เท่า ซึ่งปัจจัยเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ร่วมคาดคะเน (D) การเป็นโรค osteoporosis ได้ร้อยละ 62.76 และสามารถเขียนเป็นสมการทำนายการเป็น osteoporosis ในรูปคะแนนดิบได้ดังนี้ D = 5.3042 + 0.0173 age + 0.0595 weight + 1.6504 drug + 1.0608 hor ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเป็น osteopenia ของสตรีวัยก่อนและหลังหมดประจำเดือนและวัยสูงอายุ เป็นดังนี้คือ ถ้าอายุเพิ่มขึ้นมีโอกาสเข้าไปอยู่ในกลุ่ม osteopenia เพิ่มขึ้น 0.1031 เท่า ถ้าใช้ยา steoroid มีโอกาสเข้าไปอยู่ในกลุ่ม osteopenia เพิ่มขึ้น 0.9677 เท่า ถ้าไม่ได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนเสริมมีโอกาสเข้าไปอยู่ในกลุ่ม osteopenia 0.3835 เท่า ถ้าน้ำหนักเพิ่มขึ้นมีโอกาสเข้าไปอยู่ในกลุ่ม osteopenia ลดลง 0.0779 เท่า ซึ่งปัจจัยเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ร่วมคาดคะเน (D) การเป็น osteopenia ได้ร้อยละ 62.76 และสามารถเขียนเป็นสมการทำนายเป็น osteopenia ในรูปคะแนนดิบได้ดังนี้ D = -1.5463 + 0.1031 age - 0.0779 weight + 0.9677 drug + 0.3835 hor
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1019
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
title.pdf376.14 kBAdobe PDFดู/เปิด
chapter1.pdf646.97 kBAdobe PDFดู/เปิด
chapter2.pdf2.09 MBAdobe PDFดู/เปิด
chapter3.pdf265.24 kBAdobe PDFดู/เปิด
chapter4.pdf1.61 MBAdobe PDFดู/เปิด
chapter5.pdf918.61 kBAdobe PDFดู/เปิด
bibliography.pdf782.54 kBAdobe PDFดู/เปิด
appendix.pdf817.7 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น