กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10168
ชื่อเรื่อง: คุณภาพทางจุลชีววิทยาของเทคนิคการเก็บรักษาน้ำเชื้อปลาสวาย (Pangasianodon hypophthalmus) แช่แข็ง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Microbiologicl qulity of sperm cryopreservtion technique of striped ctfish (Pngsinodon hypophthlmus)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุบัณฑิต นิ่มรัตน์
วีรพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัย
ชยาภา นิลโกศล
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาจุลชีววิทยาประยุกต์
ปลาสวาย -- น้ำเชื้อ
น้ำเชื้อ -- การเก็บและรักษา
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาในครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบแบคทีเรียที่ปนเปื้อนในน้ำเชื้อปลาสวายแช่แข็งในหลอด 3 ขนาด ได้แก่ 0.5, 2.5 และ 4.0 มิลลิลิตร ที่ลดอุณหภูมิอย่างง่ายด้วยกล่องโฟมที่เก็บรักษาในถังไนโตรเจนเหลว (-196 ºC) ตู้แช่แข็ง -80 และ -20 ºC ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว และศึกษาความไวต่อสารต้านจุลชีพของแบคทีเรียที่แยกได้จากน้ำเชื้อปลาสวาย โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 4 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 เป็นการแช่แข็งน้ำเชื้อปลาสวายในถังไนโตรเจนเหลวนาน 6 วัน พบว่า น้ำเชื้อปลาสวายในหลอดขนาด 0.5, 2.5 และ 4.0 มิลลิลิตรก่อนนำมาลดอุณหภูมิ และน้ำเชื้อหลังแช่แข็งนาน 30 นาทีมีปริมาณแบคทีเรียกลุ่มเฮทเทอโรโทรปทั้งหมดใกล้เคียงกัน (3.83±0.26 -4.35±0.49×104 CFU/mL) ซึ่งสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) กับน้ำเชื้อแช่แข็งตั้งแต่ 24 ชั่วโมงถึง 6 วัน การทดลองในตอนที่ 2 ที่ศึกษาการแช่แข็งน้ำเชื้อปลาสวายในหลอด 3 ขนาด ในถังไนโตรเจนเหลวนาน 180 วัน พบว่า ระยะเวลาการเก็บรักษาน้ำเชื้อในไนโตรเจนเหลวไม่มีผลต่อปริมาณแบคทีเรียกลุ่มเฮทเทอโรโทรปทั้งหมดที่ปนเปื้อนในน้ำเชื้อที่บรรจุในหลอดทั้ง 3 ขนาด โดยแบคทีเรียในน้ำเชื้อแช่แข็งที่บรรจุในหลอดขนาด 4.0 มิลลิลิตร มีปริมาณมากที่สุดตลอดระยะเวลา 180 วัน การศึกษาในตอนที่ 3 เป็นการเปรียบเทียบน้ำเชื้อปลาสวายในหลอดขนาด 0.5, 2.5 และ 4.0 มิลลิลิตรที่แช่แข็งที่อุณหภูมิ -20, -80 และ -196 ºC นาน 90 วัน พบว่าอุณหภูมิ (F=5.72 และ P=0.004) และระยะเวลาในการเก็บน้ำเชื้อ (F=12.92 และ P=0.00) เป็นปัจจัยหลักที่มีอิทธิพลต่อปริมาณแบคทีเรียในน้ำเชื้อปลาสวายแช่แข็ง และการศึกษาในตอนสุดท้ายที่ศึกษาความไวต่อสารปฏิชีวนะของแบคทีเรียทั้ง 18 ไอโซเลทที่แยกได้จากน้ำเชื้อปลาสวายแช่แข็ง พบว่า แบคทีเรีย 8 ไอโซเลท คิดเป็น 44.5 เปอร์เซ็นต์ไวต่อสารปฏิชีวนะทุกชนิดที่ทดสอบ ได้แก่ P. aeruginosaPA test, P. fluorescensPF, P. putidaPPio1, P. putidaPPio2, P. oryzihabitansPO, A. baumannii ABio1, A. baumannii ABio2 และ A. baumannii ABio3 และแบคทีเรีย 7 ไอโซเลท คิดเป็น 38.9 เปอร์เซ็นต์ดื้อต่อสารปฏิชีวนะอย่างน้อย 3 ชนิดที่ทดสอบ โดย K. kristinae KO, S. maltophiliaSMio1, S. maltophiliaSMio2 และ S. maltophiliaSMio3 จัดเป็นแบคทีเรียที่ดื้อต่อสารปฏิชีวนะ 3 ขนาน ส่วน K. sedentarius KSio1, K. sedentarius KSio2 และ K. sedentarius KSio3 จัดเป็นแบคทีเรียที่ดื้อต่อสารปฏิชีวนะ 4 ขนาน การศึกษาในครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าน้ำเชื้อปลาสวายแช่แข็งมีการปนเปื้อนด้วยแบคทีเรียก่อโรคในปลาและแบคทีเรียฉวยโอกาสในการก่อโรคในมนุษย์ที่ดื้อยาหลายขนาน ดังนั้นจึงควรมีการพัฒนาวิธีการแช่แข็งน้ำเชื้อที่สามารถกำจัดแบคทีเรียแต่ยังคงรักษาน้ำเชื้อปลาสวายแช่แข็งให้มีคุณภาพดีต่อไป
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2564
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10168
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:I-thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
60910018.pdf9.68 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น