กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10158
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ปิยะทิพย์ ประดุจพรม | |
dc.contributor.advisor | กนก พานทอง | |
dc.contributor.author | สุรชัย รักสมบัติ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา | |
dc.date.accessioned | 2023-09-18T07:54:06Z | |
dc.date.available | 2023-09-18T07:54:06Z | |
dc.date.issued | 2564 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10158 | |
dc.description | ดุษฎีนิพนธ์ (ปรด)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2564 | |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างโมเดลข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และพัฒนาระบบสร้างข้อสอบอัตโนมัติส าหรับจัดคลังข้อสอบจ าแนกตามเนื้อหาและระดับความยาก วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 วิธีด าเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ดังนี้ 1) การสร้างโมเดลข้อสอบ วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการประยุกต์แนวคิดของวิศวกรรมการประเมิน ด้วยการวิเคราะห์ คุณภาพข้อสอบตามหลักทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ แบบ 3 พารามิเตอร์ และพัฒนาเป็นโมเดลข้อสอบ ตามหลักการของการสร้างข้อสอบอัตโนมัติ โดยใช้ข้อสอบแข่งขันวัดความสามารถทางคณิตศาสตร์ ตั้งแต่ ปีการศึกษา 2557-2561 และ 2) การพัฒนาระบบสร้างข้อสอบอัตโนมัติสำหรับจัดคลังข้อสอบจำแนกตามเนื้อหาและระดับความยากวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในรูปแบบของเว็บแอปพลิเคชัน พร้อมทั้ง ตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลข้อสอบ และตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างผลการสอบข้อสอบ ต้นแบบกับผลการสอบข้อสอบที่สร้างขึ้นจากโปรแกรมการสร้างข้อสอบอัตโนมัติ โดยให้นักเรียนที่สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 226 คน ทำแบบทดสอบทั้ง 2 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยปรากฎว่า 1. ได้โมเดลข้อสอบจำแนกความยากโดยการประยุกต์แนวคิดของวิศวกรรมการประเมินด้วย ค่าพารามิเตอร์ความยากของข้อสอบต้นแบบวิชาคณิตศาสตร์ จำนวน 203 ข้อ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับง่าย จำนวน 54 ข้อ สร้างเป็นโมเดลข้อสอบได้ 7 รูปแบบ ระดับปานกลาง จำนวน 71 ข้อ สร้างเป็นโมเดลข้อสอบได้ 7 รูปแบบ และระดับยาก จำนวน 78 ข้อ สร้างเป็นโมเดลข้อสอบได้ 8 รูปแบบ รวมทั้ง 3 ระดับ สร้างเป็นโมเดลข้อสอบได้ 10 รูปแบบ ซึ่งโมเดลข้อสอบมีความถูกต้อง ผ่านเกณฑ์การประเมินความตรงเชิงโครงสร้างและพฤติกรรมที่วัด โดยรวมมีความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด 2. ระบบสร้างข้อสอบอัตโนมัติสำหรับจัดคลังข้อสอบจำแนกตามเนื้อหาและระดับความยาก วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่พัฒนาขึ้นในรูปแบบของเว็บแอปพลิเคชัน สามารถใช้งานผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้ที่ www.aig-system.com โปรแกรมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากเป็นที่ยอมรับของผู้เชี่ยวชาญ และมีประสิทธิภาพในการใช้งานอยู่ในระดับดีมากเป็นที่พึงพอใจของผู้ทดลองใช้โปรแกรม ซึ่งผลการสอบจากข้อสอบที่สร้างจากโปรแกรมการสร้างข้อสอบอัตโนมัติมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับผลการสอบข้อสอบต้นแบบทั้ง 3 ระดับ ได้แก่ ง่าย ปานกลาง และยาก มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน เท่ากับ .98, .97 และ .93 ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา | |
dc.subject | ข้อสอบ | |
dc.subject | คลังข้อสอบ | |
dc.subject | วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก | |
dc.title | การพัฒนาระบบสร้างข้อสอบอัตโนมัติสำหรับจัดคลังข้อสอบจำแนกตามเนื้อหาและระดับความยาก : การประยุกต์แนวคิดวิศวกรรมการประเมิน | |
dc.title.alternative | Development of n utomtic item genertion system for item bnk clssified by contents nd difficulty levels: ssessment engineering pplied concepts | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this research were to create a mathematics item model at the Grade 7 level, and to develop an automatic item generation system for item banking classified by contents and difficulty levels. The study was conducted in two phases. Phase 1 entailed developing a mathematics item model in Grade 7, applying the concept of Assessment Engineering by analyzing questions with a three-parameter item response theory model, and developing an item model based on Automatic Item Generation, using competitive exams from academic years 2014–2018. Phase 2 entailed creating an automatic item generation system and organizing an item bank for Grade 7 students in the form of a web application, as well as determining construct validity and the relationship between the test scores obtained from the prototype test and the test constructed by the software developed for the study. Students who graduated from seventh-grade were invited to complete both tests (n=226). Data were analyzed with validity indices and Pearson’s correlation coefficient. The findings revealed that: 1. The items model classified by difficulty using the engineering assessment concept and the difficulty parameter of the mathematical prototype exam included 203 items divided into three levels. From the overall 10 test models, 54 items at the easy level had 7 test models, 71 items at the moderate level had 7 test models, and 78 items at the difficult level had 8 test models. The model was accurate and met the construct validity and behavior measurement criteria with the highest level of consistency. 2. The creation of an automatic item generation system for a mathematics item bank classified by contents and difficulty levels in the form of a web application was made accessible at www.aig-system.com. Experts agreed that the program was of high quality and efficient, and pleased the program's users. The results of the developed program revealed a strong positive correlation with the results from three levels of the prototype exams with respective coefficients of .98, .97 and .93 each of statistical significance at p < .01. | |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | |
dc.degree.discipline | การวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา | |
dc.degree.name | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
59810027.pdf | 10.08 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น