กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10157
ชื่อเรื่อง: การเพิ่มความสามารถทางคณิตศาสตร์ขั้นต้นและความจำขณะคิดสำหรับเด็กปฐมวัยที่เสี่ยงต่อภาวะความบกพร่องทางคณิตศาสตร์ด้วยโปรแกรมส่งเสริมพัฒนาการทางตัวเลขร่วมกับปัญญาสมานกาย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Enhncing erly mthemtics bilities nd working memory in preschool children t risk of dysclculi using numericl development nd embodied cognition progrm
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปิยะทิพย์ ประดุจพรม
พีร วงศ์อุปราช
อารีย์ หาญสมศักดิ์กุล
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน
การศึกษาขั้นก่อนประถม
วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: เด็กปฐมวัยที่เสี่ยงต่อภาวะความบกพร่องทางคณิตศาสตร์ ควรได้รับการช่วยเหลืออย่างเหมาะสมตั้งแต่วัยเด็กเล็ก การวัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมพัฒนาการทางตัวเลขร่วมกับปัญญาสมานกายสำหรับเด็กปฐมวัยที่เสี่ยงต่อภาวะความบกพร่องทางคณิตศาสตร์ เพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมส่งเสริมพัฒนาการทางตัวเลขร่วมกับปัญญาสมานกายเพิ่มความสามารถทางคณิตศาสตร์ขั้นต้น และความจำขณะคิด ระหว่างกลุ่มเด็กปฐมวัยที่เสี่ยงต่อภาวะความบกพร่องทางคณิตศาสตร์ที่ใช้โปรแกรมกับกลุ่มที่ใช้วิธีการสอนด้วยกิจกรรมในชั้นเรียนปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นอนุบาล 3 ที่เสี่ยงต่อภาวะความบกพร่องทางคณิตศาสตร์ที่ผ่านการคัดกรอง จำนวน 100 คน ซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 50 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นโปรแกรมส่งเสริมพัฒนาการทางตัวเลขร่วมกับปัญญาสมานกาย เครื่องมือที่ใช้วัดตัวแปรตามเป็นแบบทดสอบความสามารถทางคณิตศาสตร์ขั้นต้นและแบบทดสอบความจำขณะคิดด้านตัวเลขแบบย้อนกลับและกิจกรรมทดสอบด้านมิติสัมพันธ์แบบย้อนกลับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, สถิติทดสอบไคสแคว์, การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว, การทดสอบที, การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมพหุคูณแบบทางเดียว และค่าขนาดอิทธิพล ผลการวิจัยปรากฎว่า โปรแกรมส่งเสริมพัฒนาการทางตัวเลขร่วมกับปัญญาสมานกาย สำหรับเด็กปฐมวัยที่เสี่ยงต่อภาวะความบกพร่องทางคณิตศาสตร์ มีค่าเฉลี่ยของดัชนีวัดความสอดคล้อง S-CVI/Ave = .97 และกลุ่มที่ใช้โปรแกรมส่งเสริมพัฒนาการทางตัวเลขร่วมกับปัญญาสมานกายกับกลุ่มที่ใช้กิจกรรมในชั้นเรียนปกติ หลังการทดลอง มีค่าคะแนนความถูกต้องและเวลาตอบสนองของการทดสอบความสามารถทางคณิตศาสตร์ขั้นต้นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าขนาดอิทธิพลอยู่ในระดับมาก (ηp2) = 0.37 และการทดสอบความจำขณะคิดด้านมิติสัมพันธ์ (Corsi) และด้านตัวเลข (Dspan) แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าขนาดอิทธิพลอยู่ในระดับมาก (ηp2) = 0.28
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2564
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10157
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
58810005.pdf11.59 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น