กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10142
ชื่อเรื่อง: | การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการสินค้าคงคลัง กรณีศึกษา บริษัทผลิตเครื่องปรับอากาศ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Incresing efficiency of inventory mngement: cse study of ir conditioner mnufcturer |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ฐิติมา วงศ์อินตา นพรัตน์ ราชจินดา มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะโลจิสติกส์ |
คำสำคัญ: | สินค้าคงคลัง เครื่องปรับอากาศ มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการสินค้าคงคลังในปัจจุบันของบริษัทกรณีศึกษา เพื่อเลือกรูปแบบการพยากรณ์ที่เหมาะสมในการคาดการณ์ความต้องการสินค้าสำเร็จรูปและศึกษาแนวทางในการปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดการสินค้าคงคลังของบริษัท กรณีศึกษาโดยพบว่า ในปัจจุบันการพยากรณ์คำสั่งซื้อของลูกค้าอาศัยประสบการณ์จากการทำงานของเจ้าหน้าที่และการกำหนดนโยบายการควบคุมปริมาณสินค้าคงคลังโดยเฉพาะวัตถุดิบประเภทอิเล็กทรอนิกส์ยังไม่เหมาะสม ส่งผลให้มีสินค้าคงคลังมากเกินไป จึงดำเนินการศึกษาวิธีการพยากรณ์ความต้องการเครื่องปรับอากาศโดยใช้โปรแกรมสถิติ Minitab ด้วยวิธีการพยากรณ์แบบอนุกรมเวลา พร้อมจัดลำดับความสำคัญของวัตถุดิบกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ด้วยการวิเคราะห์ตามมูลค่าสินค้าและตามความไม่แน่นอนของอุปสงค์เพื่อกำหนดนโยบายในการจัดการสินค้าคงคลังให้กับกลุ่มวัตถุดิบที่มีความสัญให้เหมาะสมขึ้น ผลการวิจัยพบว่า ข้อมูลที่นำมาใช้ในการวางแผนสินค้าคงคลังเป็นค่าพยากรณ์ที่ได้ จากลูกค้าที่มีความคลาดเคลื่อน ทำให้ผลการวางแผนมีความคลาดเคลื่อน งานวิจัยนี้จึงหาเครื่องมือในการพยากรณ์โดยพบว่าวิธีการพยากรณ์แบบ Winters’ method เป็นวิธีการพยากรณ์ที่เหมาะสมที่สุดเนื่องจากมีค่าความคลาดเคลื่อนของการพยากรณ์ต่ำที่สุด เมื่อกำหนดนโยบายการจัดการสินค้าคงคลังให้กับวัตถุดิบกลุ่ม AX ซึ่งจัดเป็นกลุ่มที่มีความสำคัญที่สุด จำนวน 20 รายการ โดยการกำหนดปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดสินค้าคงคลังสำรองและจุดสั่งซื้อใหม่จากความต้องการ วัตถุดิบที่ได้จากค่าพยากรณ์ในปี 2563 แล้วเปรียบเทียบต้นทุนรวมที่เกิดขึ้นกับต้นทุนรวมจากการจัดการสินค้าคงคลังแบบปัจจุบันของบริษัทกรณีศึกษา พบว่า นโยบายการจัดการสินค้าคงคลังจากงานวิจัยนี้สามารถลดต้นทุนรวมลงได้ 308,669.22 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 43.90 |
รายละเอียด: | งานนิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2558 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10142 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
62920299.pdf | 6.51 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น