กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10136
ชื่อเรื่อง: การศึกษาคุณสมบัติการออกฤทธิ์ทางชีวภาพของสารพรีไบโอติกในรูปของลีแวนที่ผลิตจากจุลินทรีย์ Bacillus siamensis เพื่อประยุกต์ใช้ทางด้านเวชศาสตร์เครื่องสำอาง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A study of biological properties of prebiotic (Levan)- producing Bacillus siamensis and skin-affecting conditions for potential application in cosmetics
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิทวัส แจ้งเอี่ยม
สันติ โพธิ์ศรี
ณัฐวุฒิ ไตรโอสถ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาาสตร์
คำสำคัญ: จุลินทรีย์
พรีไบโอติก
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิศวกรรมชีวภาพ
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: คณะวิศวกรรมศาาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพของสารพรีไบโอติกในรูปของลีแวนที่ผลิตจากจุลินทรีย์ Bacillus siamensis จากการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ พบว่า ลีแวนไฮโดรไลเซตสามารถยับยั้งสารต้านอนุมูลอิสระ DPPH และอนุมูลอิสระ ABTS ได้สูงสุดที่ 31.35% และ 69.65% ที่ความเข้มข้น 250 และ 125 µg/mL ตามลำดับ อีกทั้งการประเมินความเป็นพิษต่อเซลล์ผิวหนัง (HaCaT) และเซลล์ไฟโบรบลาสต์ (NHDF) แสดงให้เห็นว่า เมื่อใช้ความเข้มข้นตั้งแต่ 62.5 ถึง 1,000 µg/mL ลีแวนจาก Bacillus siamensis ไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์จากการทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบ โดยการตรวจวัดปริมาณไนตริกออกไซต์ที่ถูกผลิตออกมาจากเซลล์แมคโครฟาจ (RAW264.7) ถูกกระตุ้นด้วยlipopolysaccharide (LPS) และค่าความมีชีวิตรอดของเซลล์แมคโครฟาจ (RAW264.7) ชี้ให้เห็นว่าลีแวนไฮโดรไลเซตที่ความเข้มข้นตั้งแต่ 15.62 ถึง 1,000 µg/mL ไม่แสดงฤทธิ์ต้านการอักเสบโดยมีผลต่อการเพิ่มปริมาณไนตริกออกไซต์และไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์แมคโครฟาจ(RAW264.7) อีกทั้งยังมีการกระตุ้นการเพิ่มปริมาณเซลล์เมคโครฟาจ (RAW264.7) ได้ด้วยจากนั้น ทดสอบฤทธิ์การต้านมะเร็ง 4 ชนิด ได้แก่ มะเร็งปอด (A549) มะเร็งตับ (HepG2) มะเร็งลำไส้ใหญ่ (HCT116) และมะเร็งปากมดลูก (HeLa) ผลการทดลองพบว่า สารลีแวนจาก Bacillus siamensis มีฤทธิ์ในการต่อต้านเซลล์มะเร็งทั้ง 4 ชนิด โดยสามารถยั้บยั้งได้สูงสุดที่ความเข้มข้น 2,000 µg/mL นอกจากนี้ลีแวนจาก Bacillus siamensis มีค่าความสามารถในการละลายน้ำ (WSI) และค่าความสามารถการละลายในน้ำมัน (OSI) เท่ากับ 95.93 ± 10.75% และ 98.84 ± 303.07% ตามลำดับ มีค่าความสามารถในการอุ้มน้ำ (WHC) ที่ 182.71 ± 202.27% ซึ่งผลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าลีแวนสามารถกักเก็บน้ำ และละลายในตัวทำละลายได้ดี
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2564
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10136
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
61910023.pdf6.32 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น