กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10135
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยทำนายความกลัวการกลับเป็นมะเร็งซ้ำในผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Fctors predicting fer of cncer recurrence mong ptients with brest cncer
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เขมารดี มาสิงบุญ
สายฝน ม่วงคุ้ม
นราภรณ์ อิ่นใจ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: เต้านม -- มะเร็ง -- การเกิดโรคกลับ
มะเร็ง -- การเกิดโรคกลับ
เต้านม -- มะเร็ง
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ความกลัวการกลับเป็นมะเร็งซ้ำเป็นปัญหาด้านจิตใจที่ส่งผลให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านม มีพฤติกรรมในการเผชิญปัญหาไม่เหมาะสม การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนาย เพื่อศึกษาความกลัวการกลับเป็นมะเร็งซ้ำและปัจจัยทำนายความกลัวการกลับเป็นมะเร็งซ้ำในผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมที่มารับการรักษาด้วยรังสีรักษาและ/ หรือเคมีบำบัด ที่แผนกผู้ป่วยนอกรังสี รักษาและแผนกผู้ป่วยนอกเคมีบำบัด โรงพยาบาลมะเร็งชลบุรีคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่ายได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 94 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลแบบสอบถามความกลัวการกลับเป็นซ้ำของโรคมะเร็งแบบประเมินความปวด แบบประเมิน ความเครียด แบบสอบถามการมองโลกในแง่ดีและแบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมมีค่า สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .87, .92, .85, .84 และ .98 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติพรรณนาและการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่ากลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 84 มีความกลัวการกลับเป็นมะเร็งซ้ำอยู่ในระดับสูง (x̄= 22.80, SD = 5.76) โดยความเครียดเป็นเพียงปัจจัยเดียวที่สามารถทำนายความกลัวการกลับเป็นมะเร็งซ้ำในผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านม (β = .61, p<.001). ดังนั้น พยาบาลควรมีการประเมินความเครียด สาเหตุของความเครียด และความกลัวการกลับเป็นมะเร็งซ้ำในผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านม อย่างสม่ำเสมอเพื่อหาแนวทางจัดการและส่งเสริมให้ผู้ป่วยสามารถเผชิญกับความเครียดและ ป้องกันความกลัวการกลับเป็นมะเร็งซ้ำได้อย่างเหมาะสมในระหว่างรับการรักษา
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2564
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10135
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
61910110.pdf6.15 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น