กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10129
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorเนตรดาว ชัยเขต
dc.contributor.authorวาสนา หวลคิด
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะการจัดการและการท่องเที่ยว
dc.date.accessioned2023-09-18T07:53:57Z
dc.date.available2023-09-18T07:53:57Z
dc.date.issued2563
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10129
dc.descriptionงานนิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลการดำเนินงานและการกำกับดูแลกิจการที่ดีกับนักลงทุนสถาบันของกลุ่มดัชนีราคาหลักทรัพย์ SET 100 ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในช่วงปี พ.ศ. 2557 ถึง พ.ศ. 2564 ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาจำนวน 69 บริษัท รวมทั้งสิ้น 345 ข้อมูล จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา เพื่ออธิบายข้อมูลเบื้องต้นของตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยะสำหรับตัวแปรหุ่น หลังจากนั้นใช้การวิเคราะห์สถิติถดถอยเชิงพหุ (Multiple regression) เพื่อทดสอบสมมติฐานที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ของนักลงทุนสถาบันไทยและนักลงทุนสถาบันต่างชาติกับผลการดำเนินงานและใช้วิธีการวิเคราะห์สถิติถดถอยลอจิสติกทวิภาค (Binary logistic regression) เพื่อทำนายโอกาสความน่าจะเป็นที่นักลงทุนสถาบันจะมีความสัมพันธ์กับคะแนนการกำกับดูแลกิจกรรมระดับดีขึ้นไป โดยแบ่งตัวแปรตามเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีระดับคะแนนการกำกับดูแลกิจการที่ดีจำนวน 314 ข้อมูล แทนค่าตัวแปรหุ่นด้วย 1 และกลุ่มที่ไม่มีระดับคะแนนการกำกับดูแลกิจการที่ดีจำนวน 31 ข้อมูล แทนค่าตัวแปรหุ่นด้วย 0 กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยการทดสอบด้วยสถิติถดถอยเชิงพหุ พบว่านักลงทุนสถาบันไทยมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับผลการดำเนินงาน (Tobin’s Q) ในขณะที่นักลงทุนสถาบันต่างชาติกลับไม่พบความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงาน นอกจากนี้ตัวแปรอื่น ๆ ได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมบริการ และกลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับผลการดำเนินงาน อย่างไรก็ตามขนาดกิจการและโครงสร้างเงินทุนกลับมีความสัมพันธ์เชิงลบ ส่วนอายุกิจการกลับไม่พบความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ผลการวิจัยโดยใช้การทดสอบด้วยลอจิสติกทวิภาค เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ของคะแนนการกำกับดูแลกิจการที่มีลักษณะเป็นตัวแปรหุ่น พบว่านักลงทุนสถาบันไทยมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับคะแนนการกำกับดูแลกิจการที่ดี ในขณะที่นักลงทุนสถาบันต่างชาติกลับไม่พบความสัมพันธ์ แต่โครงสร้างเงินทุนมีความสัมพันธ์เชิงลบกับคะแนนการกำกับดูแลกิจการที่ดี ส่วนตัวแปรอื่น ๆ ได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรม อายุกิจการและขนาดกิจการไม่พบความสัมพันธ์กับคะแนนการกำกับดูแลกิจการที่ดี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
dc.language.isoth
dc.publisherคณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectนักลงทุน
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- คณะการจัดการและการท่องเที่ยว
dc.subjectการกำกับดูแลกิจการ
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างผลการดำเนินงานและการกำกับดูแลกิจการที่ดีกับนักลงทุนสถาบันของกลุ่มดัชนีราคาหลักทรัพย์ SET 100 ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
dc.title.alternativeThe reltion between firm performnce nd corporte governnce with institutionl investors of set 100 index in the stock exchnge of thilnd
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe objective of this research was to study the relation between the performance and good corporate governance with institutional investors of the SET 100 stock market index in the Stock Exchange of Thailand during the year 2014 to 2018. The sample group used in the study consisted of 69 companies, and there was a total of 345 data. Descriptive statistics used to analyze and explain basic data of variables in the study consisted of average, maximum value, minimum value, standard deviation and percentages for dummy variables, and then multiple regression analysis was used to test the hypothesis related of the relation between Thai and foreign institutional investors and the cooperates’ performance. Binary Logistic Regression was used to predict whether probability of institutional investors had relation with corporate governance scores. This was done by dividing the variables into 2 groups, namely 314 data with good corporate governane score, and 13 data without the good corporate governance score. The good corporate governance was represented by the dummy variable 1 and corporate without good corporate governance was represented by the dummy variable 0. Statistical significance was determined at the level of 0.05 The research results were tested by using multiple regression statistics. It was found that Thai institutional investors had a postitive relation with the corporate performance (Tobin’s Q), while the relation between foreign institutional investors and the corporate performance was not found. In addition, other variables, including service industry groups and agro-food industry groups, were positively correlated with corporate performance. However, the business size and capital structure had a negative relation with corporate performance. Business age had no statistically significant relation with the performance results. In addition, the research result using a Binary logistic test to test the relation between the corporate governance scores with a dummy variable revealed that Thai institutional investors had a positive relation with good corporate governance scores while the relation was not found between foreign institutional investors and good corporate governance. However, the capital structure had a negative relation with good corporate governance scores. Other variables including industry group, the age of the business, and the size of the business were not correlated with the good corporate governance scores at the statistical significance of 0.05.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineคณะการจัดการและการท่องเที่ยว
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:I-thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
60920151.pdf32.78 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น