กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10123
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorวรรณภา ลือกิตินันท์
dc.contributor.advisorกัญจนวลัย นนทแก้ว แฟร์รี่
dc.contributor.authorวรรธนะ คงโต
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะการจัดการและการท่องเที่ยว
dc.date.accessioned2023-09-18T07:53:54Z
dc.date.available2023-09-18T07:53:54Z
dc.date.issued2563
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10123
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กจ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะสุขภาพ ความเมื่อยล้า สมรรถภาพทางกายทั่วไปและแนวทางการแก้ไขปัญหาสุขภาพของพนักงานผลิตเพื่อจัดกิจกรรมการบริหารร่างกายให้กับพนักงานผลิต และเพื่อเปรียบเทียบความเมื่อยล้าและสมรรถภาพทางกายทั่วไปของพนักงานผลิตก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการบริหารร่างกายโดยเป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental research) แบ่งระยะเวลาในการวิจัยออกเป็น 3 ช่วงผลการศึกษาระยะที่ 1 การสำรวจความเมื่อยล้าของพนักงานผลิตด้วยแบบสอบถาม จำนวน 130 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ในช่วงอายุ 20-29 ปีและมีลักษณะการทำงาน ประเภทการยืนทำงานนาน มีพนักงาน จำนวน 30 คน มีความเมื่อยล้าเฉพาะที่อยู่ในระดับที่ 3 (มีอาการปวดเมื่อยปานกลาง) ถึงระดับที่ 5 (มีอาการปวดเมื่อยมาก หยุดพักงาน ไม่ทุเลาลง) โดยมีผู้ที่มีความสนใจและมีความยินยอมสมัครใจเข้าร่วมการทดลองระยะที่ 2 เป็นจำนวน 5 คน ผลการศึกษาระยะที่ 2 การทำกิจกรรมการบริหารร่างกายผู้เข้าร่วมการวิจัยมีความเมื่อยล้าเฉพาะที่ระดับที่ 3 บริเวณก้นและสะโพกบริเวณ ต้นขา บริเวณเข่า เป็นส่วนใหญ่ถึงระดับที่ 4 บริเวณหลังส่วนบน และบริเวณหลังส่วนล่าง (เอว) หลังจากการทำกิจกรรมการบริหารร่างกายด้วยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อเป็นเวลา 2 เดือน พบว่าผู้เข้าร่วมวิจัยมีระดับอาการความเมื่อยล้าอยู่ในระดับที่ 0 ถึงระดับที่ 2 เป็นส่วนใหญ่ผลจากการศึกษาระยะที่ 3 การเปรียบเทียบความเมื่อยล้าก่อนและหลังกิจกรรมของผู้เข้าร่วมการวิจัย มีระดับความเมื่อยล้าเฉพาะที่ลดลง โดยรวม บริเวณส่วนของร่างกายด้านซ้ายมีระดับความเมื่อยล้าเฉพาะที่ลดลง บริเวณส่วนของร่างกาย ด้านขวา มีระดับความเมื่อยล้าเฉพาะที่ลดลง สรุปได้ว่า พนักงานกลุ่มทดลองที่เข้ากิจกรรมการบริหารร่างกายมีความเมื่อยล้าก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกัน โดยพนักงานมีระดับความรู้สึกเมื่อยล้าลดลง และมีสมรรถภาพทางกายทั่วไป ก่อนและหลังการทดลองไม่แตกต่างกัน แต่พบว่ามีพนักงานมีดัชนีมวลกายทั้งคงที่และแย่ลงอัตราส่วนรอบเอวต่อรอบสะโพกคงที่ เช่นเดียวกับการแตะมือด้านหลัง มือขวาอยู่ บน และมือซ้ายอยู่บน แต่การนั่งงอตัวมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น และการนอนยกตัว 1 นาทีดีขึ้น
dc.language.isoth
dc.publisherคณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectความล้าในที่ทำงาน
dc.subjectพนักงานบริษัท -- สุขภาพและอนามัย
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- คณะการจัดการและการท่องเที่ยว
dc.subjectพนักงานบริษัท -- การทำงาน
dc.titleความเมื่อยล้าและสมรรถภาพทางกายทั่วไปของพนักงานผลิตบริษัทจำกัดแห่งหนึ่ง
dc.title.alternativeRftigue nd generl physicl fitness to employee compny limited
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThis research was aiming to study on health condition, fatigue, general physical fitness and health problems solution of production employees and also compare fatigue and general physical fitness of production employees between before and after performing exercise activity. This research was conducted by experimental research method and which was separated into 3 phases.Phase one was started with fatigue survey of 130 production employees which the results were most of the employees are females in age of 20 – 29 years old and work long standing period. The survey also found that 30 of employees have specific fatigue level between 3 (medium ache) to 5 (high ache and not recover after break). There were 5 people interested and voluntarily agreed to participate in Phase two experiment.Phase two was performing exercise activity. Participants had specific fatigue at level 3 which most happened around bottom, hip, thigh and knee. Some also had fatigue at level 4 that happened around upper back and lower back (waist). The research found that most of participants have fatigue level lower into 0-2 after performing exercise activity by doing stretching exercise for 2 month.Phase three was comparison of participants fatigue before and after the activity. The overall specific fatigue level was decreased. The left part of body had been reduced specific fatigue level. In additional, this also happened on the right part of body. In conclusion, participants had different fatigue after attend exercise activity. Participants had decreased their fatigue level and there was no difference of general physical fitness after the research, but there was some employees that had stable and worse body mass index, stable waist-to-hip ratio. Likewise, touching back hand, right is on top and left hand is under, but participants had slightly improved on doing curled up and 1-minute abdominal curls.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineคณะการจัดการและการท่องเที่ยว
dc.degree.nameการจัดการมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:I-thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
59920341.pdf4.44 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น