กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10119
ชื่อเรื่อง: | อิทธิพลของกลยุทธ์การตลาดเพื่อสังคมปัจจัยด้านตนเอง ครอบครัวและสังคมที่ส่งผลต่อทัศนคติหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ของกลุ่มวัยรุ่นที่ไม่เคยสูบบุหรี่ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The influence of socil mrketing fctors, self relted fctors, fmily relted fctors nd socil fctors to ttitute towrd smoke voidnce mong never smoked dolescences |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สมบัติ ธำรงสินถาวร วรัญญา เทวรินทร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะการจัดการและการท่องเที่ยว |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยบูรพา -- คณะการจัดการและการท่องเที่ยว การสูบบุหรี การสูบบุหรี่ -- การป้องกันและควบคุม |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การสูบบุหรี่เป็นปัญหาสำคัญในประเทศไทย โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น จากข้อมูลปัจจุบัน พบว่า ในกลุ่มวัยรุ่นมีอัตราการสูบเพิ่มสูงขึ้น และเริ่มสูบในอายุที่น้อยลง ดังนั้นการเฝ้าระวังไม่ให้เกิดนักสูบหน้าใหม่ในขณะที่ยังเป็นวัยรุ่นอยู่ จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง การศึกษาครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับของทัศนคติหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ของกลุ่มวัยรุ่นที่ไม่เคยสูบบุหรี่ 2. ศึกษาระดับของปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อทัศนคติหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ของกลุ่มวัยรุ่นที่ไม่เคยสูบบุหรี่ 3. ศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อทัศนคติหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ของกลุ่มวัยรุ่นที่ไม่เคยสูบบุหรี่ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ กลุ่มวัยรุ่น จำนวน 384 คน ที่มี อายุระหว่าง 15-24 ปีที่ไม่เคยสูบบุหรี่และกำลังศึกษาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรีใช้การสุ่มตัวอย่างแบบอาศัยความสะดวกเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ความแปรปรวน การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรและการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุเพื่อทดสอบสมมติฐานการวิจัย ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า มีตัวแปรอิสระ 2 ตัว ที่จัดอยู่ในปัจจัยด้านตนเอง ได้แก่ การรับรู้ความสามารถของตนเองในการหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และความสามารถในการปฏิเสธเพื่อหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อทัศนคติหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ของกลุ่มวัยรุ่นที่ไม่เคยสูบบุหรี่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาแนวทางป้องกัน การสูบบุหรี่ของวัยรุ่น เช่น นำตัวแปรข้างต้นมาพัฒนาเป็นโปรแกรมการปฏิเสธบุหรี่เชิงบวกเพื่อให้วัยรุ่นได้มีทักษะชีวิตในการป้องกันตนเองจากการสูบบุหรี่และเพื่อเป็นการส่งเสริมสมรรถภาพด้านการรับรู้ความสามารถในตนเอง |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กจ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10119 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
59920315.pdf | 3.4 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น