กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10106
ชื่อเรื่อง: | ความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัทเอาท์ซอร์ซแห่งหนึ่งในเขตบางกอกน้อยกรุงเทพมหานคร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Employee enggement of employees in n outsourcing compny in bngkok noi district, bngkok |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ปรัชนันท์ เจริญอาภรณ์วัฒนา ระพิน ชูชื่น ปุณยนุช อำนวยผล มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ความผูกพันต่อองค์การ มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ พนักงานบริษัท |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้กลยุทธ์ปรากฏการณ์ธรรมชาติวัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้เพื่อ1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัทเอาท์ซอร์ซแห่งหนึ่ง ในเขตบางกอกน้อยกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาและเสนอแนะแนวทางในการสร้างความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัทเอาท์ซอร์ซแห่งหนึ่ง ในเขตบางกอกน้อยกรุงเทพมหานครจากการทำการศึกษาผู้วิจัยได้ทำการสัมภาษณ์โดยผู้วิจัยได้ทำการคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลคือระดับปฏิบัติงานในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ระดับบริหาร ระดับหัวหน้างานและระดับปฏิบัติงาน รวม 15 คน ได้มาด้วยการใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบมีเกณฑ์โดยเริ่มจากการตั้งเกณฑ์ในการเลือกผู้ให้ข้อมูลร่วมกับทีมผู้ประสานงานของบริษัทเอ้าท์ซอร์ซและใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกึ่งโครงสร้างผู้วิจัยใช้แบบฟอร์มแนวทางการสัมภาษณ์แล้วทำการถอดคำสัมภาษณ์แบบคำต่อคำออกมาเป็นเอกสาร เพื่อนำไปใช้ในการวิเคราะห์และนำเข้าโปรแกรมหลังจากการวิเคราะห์ Atlas.ti โดยผลการวิจัยพบว่า สิ่งที่เป็นปัญหาของ บริษัทเอ้าท์ซอร์ซซึ่งทำให้พนักงานไม่เกิดความรู้สึกผูกพันต่อองค์กร มีคำตอบ 3 ส่วนดังนี้ ได้แก่ 1) ความสัมพันธ์ในที่ทำงาน 2) พนักงานและลักษณะการดำเนินงานขององค์กร 3) ความจำเป็นของตัวพนักงานส่วนตัวแนวทางในการสร้างความผูกพันระหว่างพนักงานกับบริษัทเอ้าท์ซอร์ซเป็นอย่างไร ผลการวิจัยพบแนวทางในการสร้างความผูกพันระหว่างพนักงานกับบริษัทเอ้าท์ซอร์ซ ครั้งนี้แบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1) การสร้างความผูกพันที่ดีของพนักงานต่อคุณภาพชีวิตในการทำงาน 2) การสร้างความผูกพันที่ดีของพนักงานต่อบริษัทเอาท์ซอร์ซ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าทุกฝ่ายต้องทำเพื่อให้การสร้างความผูกพันระหว่างกันประสบความสำเร็จด้วยดีแบ่งออก 3 ส่วน ได้แก่ 1) แนวทางในการเสริมสร้างพฤติกรรมที่ดีของพนักงานของตัวพนักงานเอง 2) ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์สร้างความเชื่อมั่นให้กับพนักงานบริษัทเอาท์ซอร์ซ 3) องค์กรสร้างแนวทางในการเสริมสร้างความมั่นคงให้กับพนักงานบริษัทเอาท์ซอร์ซ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2564 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10106 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
62920235.pdf | 14.15 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น