กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10105
ชื่อเรื่อง: การศึกษานโยบายการจัดการวัสดุคงคลังสำหรับวัสดุสิ้นเปลืองภายใต้เงื่อนไขของความต้องการไม่คงที่ กรณีศึกษาโรงงานผลิตสุขภัณฑ์ในห้องน้ำ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A study of inventory mngement policys for consumble items with non -sttionry demnd: cse study of snitry wre fctory
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ไพโรจน์ เร้าธนชลกุล
บรรหาญ ลิลา
สุภิษา ศิลสัตย์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะโลจิสติกส์
คำสำคัญ: วัสดุ
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การกำหนดแนวทางการจัดการวัสดุคงคลังที่เหมาะสมจะช่วยให้สามารถจัดเตรียมวัสดุในปริมาณที่สอดคล้องกับความต้องการใช้งานด้วยต้นทุนที่ประหยัดในทางปฏิบัติการกำหนดแนวทางการจัดการวัสดุคงคลังอาจยังขาดการนำปัจจัยที่เกี่ยวข้องมาพิจารณาอย่างรอบด้านซึ่งจะส่งผลให้ผลลัพธ์คลาดเคลื่อนจากที่คาดการณ์ไว้อย่างมีนัยสำคัญได้งานวิจัยนี้นำเสนอการศึกษาผลลัพธ์คาดหมายด้านต้นทุนรวมและระดับบริการของการจัดการวัสดุคงคลังประเภทวัสดุสิ้นเปลืองที่ใช้ในกระบวนการผลิตของสุขภัณฑ์ในห้องน้ำของโรงงานกรณีศึกษาด้วยตัวแบบ Q-r ภายใต้เงื่อนไขที่ไม่ทราบความต้องการ และความไม่ต้องการมีค่าไม่คงที่แบ่งกลุ่มและเลือกรายการวัสดุคงคลังมาศึกษาจากผลการวิเคราะห์ด้วย ABC Inventory Matrix วิเคราะห์บ่งชี้พฤติกรรมความต้องการของวัสดุที่เลือกแต่ละรายการด้วยการทดสอบการแจกแจงความน่าจะเป็นแบบไคสแควร์กำหนดปริมาณการสั่งซื้อและจัดสั่งซื้อใหม่และจำลองสถานการณ์มอนติคาร์โลบนเอ็กเซล สเปรดชีต ผลการศึกษาพบว่าถ้ามีการประยุกต์การจัดการตามแนวทางที่ได้จากตัวแบบ Q-r กับวัสดุคงคลังโดยใช้ความต้องการจริงย้อนหลัง 1 ปี จะส่งผลให้สามารถลดต้นทุนการจัดการวัสดุคงคลังจาก 728,033.57 บาท ลงเหลือ 461,968.10 บาท หรือลดลงได้ 266,065.47 บาท คิดเป็นร้อยละ 36.28 มีระดับบริการเฉลี่ยร้อยละ 96.52 ซึ่งเป็นระดับบริการที่ยอมรับได้เมื่อเปรียบเทียบกับแนวทางการจัดการแบบเดิม และเมื่อทำการจำลองสถานการณ์เพื่อประเมินผลลัพธ์ คาดหมาย 1 ปีข้างหน้า ด้วยพฤติกรรมความต้องแบบเดียวกัน คาดว่าจะมีต้นทุนการจัดการเฉลี่ย 497,909.98 บาท และระดับบริการร้อยละ 96.28 ซึ่งคาดว่าจะดีกว่าการใช้แนวทางการจัดการแบบเดิม จึงนำเสนอผู้บริหารของโรงงานกรณีศึกษาเพื่อนำแนวทางการจัดการที่ได้จากตัวแบบ Q-r ไปประยุกต์ในการจัดการวัสดุคงคลังจริงต่อไป
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2564
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10105
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
62920140.pdf5.38 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น