กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10096
ชื่อเรื่อง: การศึกษาความเป็นไปได้ของการติดตั้งแผงแสงอาทิตย์บนหลังคาเพื่อทดแทนการใช้ไฟฟ้าจากสายส่ง กรณีศึกษา บริษัท ทีอี คอนเนคทิวิตี้ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Fesibility studie of solr rooftop implementtion: cse study te connectivity mnufcturing (thilnd) co.,ltd
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ไพบูลย์ ลิ้มปิติพานิชย์
อธิชย์ ใจทาหลี
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: แผงรวมแสงอาทิตย์
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม
พลังงานแสงอาทิตย์
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของการติดตั้งแผงโซล่าร์เซลล์บนหลังคาในด้านเศรษฐศาสตร์ การรับน้ำหนักของโครงสร้าง และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จากวัฏจักรชีวิตของการใช้ไฟฟ้าจากแผงแสงอาทิตย์บนหลังคา เพื่อลดการใช้ไฟฟ้าจากสายส่งของบริษัท ทีอี คอนแนคทิวิตี้ แมนูแฟคเจอริ่ง (ไทยแลนด์) จำกัด การติดตั้งแผงแสงอาทิตย์ เป็นการติดตั้งบนหลังคาเมทัลชีท โครงสร้างหลังคาเหล็กทรงจั่ว ความลาดเอียง 4 องศาทั้งสองด้าน หลังคามีพื้นที่ทั้งหมด 10,804 ตารางเมตร สามารถติดตั้งแผงแสงอาทิตย์ได้สูงสุด 3,500 แผง คิดเป็นกำลังไฟฟ้าสูงสุด 1,155 kW อย่างไรก็ตามผู้ศึกษาเลือกศึกษาการติดตั้ง จำนวน 3,030 แผง คิดเป็นกำลังไฟฟ้า 999 kW เพื่อให้เหมาะสมต่อวัตถุประสงค์ในการใช้งาน และความปลอดภัยของโครงสร้างอาคารในการศึกษานี้ได้ทดลองเปรียบเทียบแผงโซล่าร์เซลล์ยี่ห้อ Astro และ Canadian พบว่า ยี่ห้อ Astro มีแรงดันไฟฟ้าที่ต่ำลงเมื่ออุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น เมื่อเทียบกับยี่ห้อCanadian สำหรับการทดลองการติดตั้งทรงจั่วทั้งสองทิศด้วยสภาวะการใช้งานจริง พบว่า ทิศทางการติดตั้งทั้งสองด้านของหลังคาไม่มีผลต่อประสิทธิภาพในการรับแสง ผลการวิเคราะห์ความแข็งแรงของโครงสร้างเดิมโดยใช้โปรแกรม Solid Works พบว่า มีผลต่อค่า Safety Factor 3.45 และการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์จากการลงทุน พบว่า ต้องใช้เงินลงทุน 27.5 ล้านบาท มูลค่า NPV 25.9 ล้านบาท มีระยะเวลาคืนทุน 7.48 ปี สำหรับการวิเคราะห์การปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากวัฏจักรชีวิตของการใช้ไฟฟ้าจากการติดตั้งแผงแสงอาทิตย์บนหลังคา เพื่อทดแทนการใช้ไฟฟ้าจากสายส่ง พบว่า สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตอยู่ที่ 836.35 ตัน CO₂-eq ต่อปีในปี แรก โดยมีการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งหมด 17,797.83 ตัน CO₂-eq ตลอดอายุการใช้งานของแผงแสงอาทิตย์หรือ 25 ปีโดยใช้เวลาทั้งหมด 3.48 ปี ในการชดเชยการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของโครงการนี้
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (วศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10096
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
58920697.pdf4.29 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น