กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10095
ชื่อเรื่อง: | การนำน้ำมันเครื่องยนต์ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ด้วยกระบวนการกลั่นแบบไพโรไลซิส |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Recovery of used engine oil by pyrolysis distilltion process |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ศรีสุดา นิเทศน์ธรรม เอมม่า อาสนจินดา เนาวรัตน์ ชมภูนุช มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี การแยกสลายด้วยความร้อน |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การนำน้ำมันเครื่องยนต์กลับมาใช้ใหม่ด้วยกระบวนการกลั่นแบบไพโรไลซิส เพื่อเปลี่ยนน้ำมันเครื่องยนต์ใช้แล้วให้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่สามารถใช้งานทดแทนน้ำมันดีเซลด้วยเครื่องปฏิกรณ์ไพโรไลซิสแบบคู่ (Two-stage reactor) และศึกษาสภาวะที่เหมาะสมของกระบวนการ ได้แก่ อุณหภูมิในเครื่องปฏิกรณ์และคอลัม น์กลั่นน้ำมัน อัตราการไหลของแก๊สตัวพา และอิทธิพลของตัวเร่งปฏิกิริยา 3 ชนิด ได้แก่ Fe2O3 , Na2CO3 และ Bentonite จากการศึกษาพบว่า อุณหภูมิมีอิทธิพลโดยตรงต่อกระบวนการไพโรไลซิสที่มีปฏิกิริยาหลัก คือ Thermal cracking และการเพิ่มอัตราการไหลของแก๊สตัวพาช่วยเพิ่มความสามารถในการถ่ายโอนความร้อนของน้ำมันตั้งต้นในเครื่องปฏิกรณ์ซึ่งส่งผลต่อการแตกตัวของน้ำมันในปฏิกิริยาดังกล่าวโดยสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการผลิตน้ำมันไพโรไลซิส ได้แก่ อุณหภูมิไพโรไลซิสเท่ากับ 400°C อุณหภูมิในคอลัมน์กลั่นน้ำมัน เท่ากับ 250°C และอัตราการไหลของแก๊สตัวพาเท่ากับ 30 mL/min ซึ่งที่สภาวะดังกล่าวสามารถผลิตน้ำมันไพโรไลซิสที่มีองค์ประกอบของแนฟทาเคโรซีน และแก๊สออยล์รวมกันสูงที่สุด และสมบัติของน้ำมันไพโรไลซิส ได้แก่ ความถ่วงจำเพาะและความหนืด มีค่าอยู่ในช่วงมาตรฐานของน้ำ มันดีเซลหมุนเร็วในขณะที่จุดวาบไฟยังมีค่าที่ต่ำกว่ามาตรฐาน ส่วนการใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาสำหรับการเกิดปฏิกิริยา Catalytic cracking พบว่า Na2CO3 มีความสามารถในการเลือกเกิดปฏิกิริยากับ สารประกอบไฮโดรคาร์บอนโมเลกุลใหญ่โดยน้ำมันไพโรไลซิสที่ได้จะมีองค์ประกอบของ Heavy oil เจือปนอยู่และการใช้ Fe2O3 เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาจะให้ปริมาณน้ำมันไพโรไลซิสต่ำกว่า Na2CO3 แต่มีความสามารถในการลดปริมาณซัลเฟอร์ในน้ำมันอย่างเห็นได้ชัดในขณะที่ตัวเร่งปฏิกิริยา Bentonite ให้ปริมาณน้ำมันไพโรไลซิสต่ำที่สุดแต่มีความสามารถในการเลือกเกิดปฏิกิริยาเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์เป็นแนฟทาสูงกว่าตัวเร่งปฏิกิริยาชนิดอื่น ๆ อย่างไรก็ตามการใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาในกระบวนการไพโรไลซิสไม่มีผลในการเพิ่มค่าจุดวาบไฟของน้ำมันแต่พบว่า การเพิ่มค่าจุดวาบไฟสามารถทำได้ด้วยการนำน้ำมันไพโรไลซิสมากลั่นซ้ำอีกครั้ง |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10095 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
60910109.pdf | 1.78 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น