กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10081
ชื่อเรื่อง: | ฟลักซ์ของสารอาหารอนินทรีย์ละลายน้ำและตะกอนแขวนลอยที่บริเวณปากแม่น้ำตราด จังหวัดตราด ปี พ.ศ. 2561 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Fluxes of dissolved inorgnic nutrients nd suspended sediment t trt river mouth, trt province in 2018 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ภัทราวุธ ไทยพิชิตบูรพา อนุกูล บูรณประทีปรัตน์ เบญจมาศ มีทรัพย์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | เคมีชีวอนินทรีย์ ฟลักซ์ (โลหวิทยา) มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวาริชศาสตร์ ตะกอนแขวนลอย |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | งานวิจัยนี้ทำขึ้นเพื่อศึกษาฟลักซ์ของสารอาหารอนินทรีย์ละลายน้ำและตะกอนแขวนลอย บริเวณปากแม่น้ำตราด จำนวน 6 ครั้งในปี พ.ศ. 2561 โดยมีการสำรวจภาคสนามด้วยเครื่องมือต่าง ๆ ผลการศึกษาพบว่า ฟลักซ์สุทธิของน้ำและฟลักซ์สุทธิของสารอาหารอนินทรีย์ละลายน้ำ (แอมโมเนีย, ไนไตรท์, ไนเตรท, ฟอสเฟต และซิลิเกต) ในเดือนกุมภาพันธ์, เมษายน, มิถุนายน, สิงหาคม และตุลาคม มีทิศทางไหลจากแม่น้ำออกสู่ทะเล ต่างจากเดือนธันวาคมที่ฟลักซ์สุทธิของน้ำและฟลักซ์สุทธิของสารอาหารอนินทรีย์ละลายน้ำ (ยกเว้นแอมโมเนีย) มีทิศทางการไหลจากทะเลเข้าสู่ปากแม่น้ำ ส่วนฟลักซ์สุทธิของตะกอนแขวนลอยพบว่ามีทิศทางการไหลจากทะเลเข้าสู่ปากแม่น้ำในเดือนกุมภาพันธ์, เมษายน และธันวาคม มีทิศทางไหลจากแม่น้ำออกสู่ทะเลในเดือนมิถุนายน, สิงหาคม และตุลาคม ปริมาณสารอาหารอนินทรีย์ละลายน้ำในน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ตามปริมาณน้ำท่า (ยกเว้นฟอสเฟตและตะกอนแขวนลอย) โดยมีค่าฟลักซ์สุทธิของน้ำ, แอมโมเนีย, ไนไตรท์, ไนเตรท, ฟอสเฟต, ซิลิเกต และตะกอนแขวนลอยเฉลี่ยรายปี เท่ากับ 5.81 x 106 m³/day, 985.52 Kg N/day, 26.57 Kg N/day, 1,205.42 Kg N/day, 128.15 Kg P/day, 17,845.25 Kg Si/day และ 128.98 ton/day ตามลำดับ เมื่อทำการเปรียบเทียบกับปริมาณฟลักซ์ของแม่น้ำตราดในปี พ.ศ. 2556 พบว่า ปริมาณฟลักซ์ของสารอาหารส่วนใหญ่ที่ไหลออกสู่ทะเลมี ปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะแอมโมเนีย, ฟอสเฟส และซิลิเกตโดยเพิ่มขึ้นทั้งในช่วงฤดูน้ำน้อย และฤดูน้ำมาก แต่ฟลักซ์ของไนไตรท์และไนเตรทที่ไหลออกสู่ทะเลมีปริมาณเพิ่มขึ้นเฉพาะช่วงฤดูน้ำน้อย ทั้งนี้จากการประเมินคุณภาพน้ำบริเวณแม่น้ำตราดพบว่าเป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพน้ำผิวดินประเภทที่ 3 คือ คุณภาพน้ำเพื่อการเกษตรกรรม |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2564 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10081 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
58910074.pdf | 4.41 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น