กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10075
ชื่อเรื่อง: รูปแบบการลงทุนของประกันสังคมไทยที่มีประสิทธิภาพ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effective investment model of the thi socil security fund
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศักดิ์ชาย จันทร์เรือง
ฐิติมา สุ่มแสนหาญ
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
คำสำคัญ: ประกันสังคม
การลงทุน
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการสาธารณะ
วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบการลงทุนของประกันสังคมไทยที่มีประสิทธิภาพโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการลงทุนของประกนสังคมไทยที่มีประสิทธิภาพ 2) เพื่อศึกษานโยบายการลงทุนของประกันสังคมไทยที่มีประสิทธิภาพ โดยการศึกษาในครั้งนี้ใช้วิธีวิจัยด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกสัมภาษณ์ (In-depth interview) และการวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิใช้เทคนิคการวิจัยเชิงอนาคต (เทคนิคเดลฟาย) จำนวน 3 รอบ ของผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเงินของสำนักงานประกันสังคม 10 คน ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการลงทุนของสำนักงานประกันสังคม 7 คน และทำการยืนยันผลการวิจัยกับคณะกรรมการประกัน สังคม คณะอนุกรรมการประกันสังคม ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเงิน และการลงทุนของสำนักงานประกันสังคม 71 คน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์ และตรงตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย ผลการศึกษาพบว่า จากการสัมภาษณ์เชิงลึกการใช้เทคนิคเดลฟายและการสนทนากลุ่มกับคณะกรรมการ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเงินและการลงทุนของสำนักงานประกันสังคม ประสบปัญหาที่สำคัญ คือ สัดส่วนในการลงทุนยังไม่เต็มประสิทธิภาพเท่าที่ควร เนื่องจากยังสามารถกระจายการลงทุนออกไปยังต่างประเทศได้มากกว่าเดิมและบุคลากรของสำนักงานประกัน สังคม ยังขาดทักษะในการบริหารการลงทุนปริมาณ และสำนักงานประกันสังคมยังเห็นว่า ปัญหาด้านบุคลากรที่ตรงกับความต้องการมีจำกัด ดังนั้น กองทุนประกันสังคมควรพิจารณาที่จะศึกษาและคัดสรรทางเลือกในการลงทุนที่มีหลายรูปแบบในต่างประเทศให้มากขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงและเพิ่มทางเลือกให้กับกองทุนให้ได้มีโอกาสในการเข้าถึงการลงทุนที่อาจให้ผลประโยชน์ในระยะยาวและมีความเสี่ยงที่อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ซึ่งจะช่วยให้กองทุนมีทางเลือกในการลงทุนมากขึ้น และควรพัฒนาด้านบุคลากร ทั้งด้านทักษะความรู้เฉพาะด้าน เช่น การอบรมในการลงทุนในต่างประเทศให้มากขึ้น เพิ่มทักษะในการใช้เทคโนโลยีเข้าถึงระบบฐานข้อมูลได้รวดเร็ว ถูกต้อง นำข้อมูลที่วิเคราะห์ได้ไปตัดสินใจในการลงทุนได้ทันท่วงทีเพื่อประโยชน์ความมั่นคงอย่างยั่งยืนของประเทศต่อไป
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10075
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
57870057.pdf5.23 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น