กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10074
ชื่อเรื่อง: การจัดการนวัตกรรมเทคโนโลยีสำหรับเกษตรกรสวนยางแปลงใหญ่ภาคตะวันออก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Innovtion nd technology mngement for lrge plnttion of rubber frmers in the estern region
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บรรพต วิรุณราช
ภุมเรศ จันทร์สว่าง
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
คำสำคัญ: สวนยาง
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการสาธารณะ
ยางพารา
นวัตกรรมทางการเกษตร
วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการเกิดผลกระทบในการจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยีสำหรับเกษตรกรสวนยางแปลงใหญ่ภาคตะวันออก 2) เพื่อศึกษาการจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยีสำหรับเกษตรกรสวนยางแปลงใหญ่ภาคตะวันออกให้เกิดมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์จากยางพารา 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาและแก้ไขสำหรับผู้ที่มีมีส่วนได้เสียในการจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยี สำหรับเกษตรกรสวนยางแปลงใหญ่ภาคตะวันออก ซึ่งเป็นการทำวิจัยแบบผสมผสาน โดยเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ เกษตรสวนยางพาราภาคตะวันออกผู้ประกอบการและนักวิชาการและเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเกษตรกรผู้เพาะปลูกยางพารา จำนวน 400 คน ผลการวิจัย พบว่า การหาการเกิดผลกระทบ ด้านผลผลิตและการดำเนินการกระบวนการตัดสินใจ ทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำลง เรื่องของการเพาะปลูกและการผลิตเพื่อแปรรูปต่าง ๆ ด้านการออกแบบระบบ สังคมและเทคนิค ส่งผลต่อการเสริมสร้างทักษะและเทคนิคของเกษตรกรในการทำเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่า ได้ดียิ่งขึ้น ด้านพฤติกรรมกลุ่มและทีมส่งผลทำให้เกิดพฤติกรรมการปรับตัวในการทำงาน ด้านประสบการณ์ของผู้จัดการและประวัติองค์กร เกิดผลกระทบในเรื่องของการสร้างแรงบันดานใจเมื่อเห็นผู้ที่ทำการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีด้านกระบวนการตัดสินใจ ส่งผลให้สามารถแจกแจงปัญหาเกี่ยวกับการใช้ เทคโนโลยีได้ ด้านเทคนิคการจัดการวิทยาศาสตร์ส่งผลให้เกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างเป็นขั้นตอน ในเรื่องของทักษะเทคนิควิธีการต่าง ๆ ด้านระบบการเงิน ส่งผลให้เกิดการสนับสนุนการลงทุน ด้านกิจกรรมวิศวกรรม ส่งผลในเรื่องของการประเมินความพึงพอใจของเกษตรกรก่อนและหลังการเข้าร่วมโครงการและแนวทางกลยุทธศาสตร์การจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยีนั้น กลยุทธ์ที่ต้องดำเนินการนั้น มีทั้งหมด 8 กลยุทธ์ตามจำนวนตัวแปร โดยสามารถเรียงลำดับความสำคัญได้ คือ 1) กลยุทธ์กระบวนการตัดสินใจ ส่งผลต่อการเพิ่มมูลค่าเพิ่มขึ้น 0.568 หน่วย 2) กลยุทธ์เทคนิคการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ส่งผลต่อการเพิ่มมูลค่าเพิ่มขึ้น 0.477 หน่วย 3) กลยุทธ์การจัดการประสบการณ์และองค์กรส่งผลต่อการเพิ่มมูลค่าเพิ่มขึ้น 0.301 หน่วย 4) กลยุทธ์ระบบการเงินส่งผลต่อการเพิ่มมูลค่าเพิ่มขึ้น 0.248 หน่วย 5) กลยุทธ์ผลผลิตและการดำเนินการนั้น ส่งผลต่อการเพิ่มมูลค่าเพิ่มขึ้น 0.244 หน่วย 6) กลยุทธ์พฤติกรรมกลุ่มและทีมส่งผลต่อการเพิ่มมูลค่าเพิ่มขึ้น 0.161 หน่วย กลยุทธ์กิจกรรมวิศวกรรมส่งผลต่อการเพิ่มมูลค่าเพิ่มขึ้น 0.152 หน่วย กลยุทธ์ระบบสังคมและเทคนิคจะส่งผลต่อการเพิ่มมูลค่าเพิ่มขึ้น 0.130 หน่วย
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10074
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
57870029.pdf2.48 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น