กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10062
ชื่อเรื่อง: | ผลการประยุกต์ใช้จินตภาพประกอบดนตรีบรรเลงร่วมกับสุคนธบำบัดที่มีผลต่อการคลายตัวของกล้ามเนื้อต้นขาและอัตราการเต้นของหัวใจในนักกีฬามหาวิทยาลัย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The effect of imgery with bckground music nd romtherpy on decresed qudriceps muscle tension nd hert rte in university thletes |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เสกสรรค์ ทองคำบรรจง เกษม ใช้คล่องกิจ ฉัตรกมล สิงห์น้อย เกศิณี รัตนเปสละ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกายและการกีฬา การผ่อนคลาย การผ่อนคลายกล้ามเนื้อแบบโพรเกรสสิพ กล้ามเนื้อ |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการคลายตัวของกล้ามเนื้อต้นขาและอัตราการเต้นของหัวใจจากการประยุกต์ใช้การจินตภาพประกอบดนตรีบรรเลงร่วมกับสุคนธบำบัด และการใช้การจินตภาพ ประกอบดนตรีบรรเลงในนักกีฬาระดับ มหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่าง เป็นนิสิตที่เป็นนักกีฬาตัวแทนมหาวิทยาลัยที่อาสาสมัครเข้าร่วมการวิจัย จำนวน 30 คน (เพศชาย 15 คน และเพศหญิง 15 คน) การสุ่มเพื่อเข้ากลุ่ม จำนวน 3 กลุ่ม (กลุ่ม ๆ ละ 10 คน) ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย ประกอบด้วย 1) กลุ่มนั่งพัก 2) กลุ่มโปรแกรมการจินตภาพ ประกอบดนตรีบรรเลงและ 3) กลุ่มโปรแกรมการจินตภาพประกอบดนตรีบรรเลงร่วมกับสุคนธบำบัด เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองประกอบด้วยเครื่องวัดสัญญาณป้อนกลับทางชีวภาพ โปรแกรมการจินตภาพร่วมกับดนตรีบรรเลงเพื่อการผ่อนคลายจักนยานวัดงานอุปกรณ์พ่นละอองไอน้ำ น้ำมันหอมระเหยลาเวนเดอร์เครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจ การทดลองได้ออกแบบให้ผู้เข้าร่วมการทดลองออกกำลังกายด้วยการปั่นจักรยานวัดงานกระทั่งมีอัตราการเต้นของหัวใจที่ร้อยละ 75 ของชีพจรสูงสุด จึงเข้ารับโปรแกรมการผ่อนคลายทั้ง 3 รวบรวม ข้อมูลโดยวัดผลก่อน-หลังการทดลอง และบันทึกผลทุก ๆ 4 นาที สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบหลายตัวแปร (Multivariate analysis of variance: MANOVA) ผลการวิจัย พบว่า 1. การคลายตัวของกล้ามเนื้อต้นขาของกลุ่มนั่งพักมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 13.49, 9.26, 7.09, 4.30 และ 2.41 ไมโครโวลต์ ตามลำดับ กลุ่มโปรแกรมการจินตภาพประกอบดนตรีบรรเลงมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 12.54, 8.84, 5.11, 2.20 และ 1.25 ไมโครโวลต์ ตามลำดับ และกลุ่มโปรแกรมการจินตภาพประกอบดนตรีบรรเลงร่วมกับสุคนธบำบัด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 12.13, 6.02, 3.26, 1.99 และ 0.96 ตามลำดับ 2. อัตราการเต้นของหัวใจของกลุ่มนั่งพักมีค่าเฉลี่ยของอัตราการเต้นของหัวใจลดลงเท่ากับ 151.40, 136.40, 122.20, 113.10 และ 101.00 ครั้งต่อนาที ตามลำดับ กลุ่มโปรแกรมการจินตภาพประกอบดนตรีบรรเลง มีค่าเฉลี่ยของอัตราการเต้นของหัวใจลดลงเท่ากับ 151.20, 129.00, 111.80, 96.10 และ 90.40 ครั้งต่อนาที ตามลำดับ และกลุ่มโปรแกรมการจินตภาพประกอบดนตรีบรรเลงร่วมกับสุคนธบำบัด มีค่าเฉลี่ยของอัตราการ เต้นของหัวใจลดลงเท่ากับ 151.20, 112.20, 98.50, 87.70 และ 82.40 ครั้งต่อนาที ตามลำดับ 3. เมื่อทดสอบความแปรปรวนแบบหลายตัวแปรของทั้ง 3 กลุ่ม พบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน และการทดสอบความแตกต่างภายในกลุ่มทดลองทั้ง 3 กลุ่ม พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10062 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
58910211.pdf | 2.03 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น