กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10057
ชื่อเรื่อง: | การประยุกต์เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมในการอนุรักษ์และจัดการพื้นที่ป่าจาก : กรณีศึกษาป่าจากในลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออกประเทศไทย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Appliction of geoinformticsfor pproprited conservton nd mngement modeling of nyp re: cse study nyp forest in estern costl wtershed thilnd |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กาญจนา หริ่มเพ็ง ภูมิพัฒน์ ภาชนะ กฤษนัยน์ เจริญจิตร แทนทัศน์ เพียกขุนทด มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | จาก (พืช) -- การอนุรักษ์ จาก (พืช) มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานภาพปัจจุบันของพื้นที่ป่าจากการใช้ประโยชน์ที่ดิน และมูลค่าการใช้ประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมจากต้นจากในลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออกประเทศไทย เพื่อนำเสนอแบบจำลองรูปแบบและพื้นที่เหมาะสมในการอนุรักษ์และจัดการพื้นที่ป่าจากบนระบบภูมิสารสนเทศ ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่ป่าจากลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออกของจังหวัดระยอง จันทบุรีและตราด มีพื้นที่รวม ทั้งสิ้น 184.5 ไร่ครอบคลุมลุ่มน้ำจันทบุรีประแสร์ตราด และเวฬุมีปริมาณคาร์บอนเฉลี่ยของส่วนต่าง ๆ คิดเป็น ร้อยละ 51.75 ± 1.25 มูลค่าการใช้ประโยชน์จากผลผลิตป่าจากคิดเป็นมูลค่าเท่ากับ 164,898,000 บาท/ปี โดย มูลค่าจากผลผลิตที่สูงที่สุด คือ มวนใบยาสูบ รองลงมาเป็นตับจาก และลูกจากเชื่อม ตามลำดับ ส่วนมูลค่าด้านการประมงคิดเป็นมูลค่าเท่ากับ 196,605,520 บาท/ปี สำหรับมูลค่าการใช้ประโยชน์ทางอ้อม ในด้านการดูดซับ คาร์บอนไดออกไซด์ มีปริมาณคาร์บอนสะสมเหนือพื้นดินทั้งหมด 2,016.33 ตันคาร์บอน คิดเป็นมูลค่า 1,050,144.99 บาท ปริมาณคาร์บอนสะสมใต้ดิน เท่ากับ 15,330.82 ตันคาร์บอน คิดเป็นมูลค่า 7,984,597.65 บาท รวมมูลค่าการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ เท่ากับ 9,034,742.64 บาท รวมมูลค่าการใช้ประโยชน์ของป่าจาก ทั้งทางตรงและทางอ้อม เท่ากับ 370,538,203.64 บาทหรือ 2,008,881.88 บาท/ไร่ การศึกษาแบบจำลอง (model) รูปแบบและพื้นที่เหมาะสมในการอนุรักษ์และจัดการพื้นที่ป่าจากโดยผู้เชี่ยวชาญและใช้กระบวนการวิเคราะห์ ตามลำดับชั้น (Analytic Hierarchy Process : AHP) พบว่า การใช้ประโยชน์จากพื้นที่ป่าจากทั้งหมด (100 %) โดยไม่มีการสงวนพื้นที่ไว้เพื่อการอนุรักษ์จะให้มูลค่าสูงสุด หากปลูกในพื้นที่ที่มีความเหมาะสมมากที่สุดเพียง อย่างเดียวจะสามารถเพิ่มมูลค่าได้ 528,084,824,205 บาทและมีอัตราส่วนการใช้จากต่อพื้นที่ลดลงโดยไม่มี ผลกระทบต่อรายได้ของผู้ใช้ประโยชน์ป่าจากรวมทั้งเป็นการเพิ่มการกักเก็บคาร์บอนและป้องกันการชะล้าง พังทลายของหน้าดินริมฝั่งน้ำได้อีกด้วย |
รายละเอียด: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10057 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
58810173.pdf | 9.24 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น