กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10055
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์จุดจูงใจในสารที่ปรากฎในคำขวัญสายการบิน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: An nlysis of messge ppels in irline slogns
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ณัฐภัทร พัฒนา
ปุญญิสา จันทร์สิงห์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ: คำขวัญ
คำและวลี
โฆษณา -- การเขียน
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: คำขวัญ (Slogan) จะเป็นภาษาที่มีลักษณะเฉพาะและมีความสอดคล้องกับความต้องการของผู้ผลิตโฆษณา เนื่องจากคำขวัญจัดเป็นโครงสร้างส่วนที่รวมความคิดรวบยอดสินค้า มีความสั้นกระชับ มักอยู่อันดับแรกหรือเป็นสิ่งที่เห็นได้ในตอนสุดท้าย การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการใช้จุดจูงใจในสารที่ปรากฏในคำขวัญโฆษณาสายการบินในระหว่าง 2 ทศวรรษ คือ ระหว่าง ค.ศ. 2000-2009 และ ค.ศ. 2010-2019 กลุ่มตัวอย่างใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย คำขวัญโฆษณาสายการบินที่ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ใน 100 สายการบินที่ดีที่สุดประจำปี พ.ศ. 2562 ขององค์กรสกายแทร็กซ์ (Skytrax) ในระหว่าง ค.ศ. 2000-2019 จำนวน 168 คำขวัญ โดยใช้แนวคิดการแบ่งประเภทของจุดจูงใจในสารของ Kotler and Keller (2008) ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่ จุดจูงใจด้านเหตุผล (Rational appeal) และจุดจูงใจด้านอารมณ์ (Emotional appeal) ผลการวิจัยพบว่า จุดจูงใจที่ปรากฏในคำขวัญสายการบินในระหว่าง 2 ทศวรรษ ในภาพรวมพบว่า มีการใช้จุดจูงใจด้านอารมณ์มากกว่าจุดจูงใจด้านเหตุผล โดยจุดจูงใจด้านอารมณ์ที่ปรากฎใน ค.ศ. 2000-2009 คิดเป็น 80.6% ซึ่งน้อยกว่าใน ค.ศ. 2010-2019 ซึ่งคิดเป็น 84%
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10055
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
58920779.pdf3 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น