กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10053
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorรักพร ดอกจันทร์
dc.contributor.authorอังคณา กรีณะรา
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-09-18T07:51:04Z
dc.date.available2023-09-18T07:51:04Z
dc.date.issued2563
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10053
dc.descriptionงานนิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์กับเกณฑ์ ร้อยละ 70 ของคะแนนสอบทั้งหมด และ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์กับเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนสอบทั้งหมด โดยกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/9 โรงเรียนแกลง “วิทยสถาวร” อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละที่มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.70 และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละที่มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.60 และทดสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1)ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนสอบทั้งหมด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบ วัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ไม่สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนสอบทั้งหมด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
dc.language.isoth
dc.publisherคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectคณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา
dc.titleการศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนแบบวัฎจักรการเรียนรู้ 5 ขั้นและใช้กระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนแกลง "วิทยสถาวร"
dc.title.alternativeThe study of mthemticl problem solving cpbilities on rtio, proportion nd percentge using the 5e lerning cycle with mthemticl problem solving process for mthyomsuks 1student of kleng wittystworn school
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purposesof this research were 1) to compare the mathematical problem solving capabilities on ratio, proportion and percentage of mathayomsuksa 1 student after using the 5E learning cycle with mathematical problem solving process with 70 percentage criterion and 2) to compare the mathematical learning achievement on ratio, proportion and percentage of mathayomsuksa 1 student after using the 5E learning cycle with mathematical problem solving process with 70 percentage criterion. The target group were 40 mathayomsuksa 1/9 studentsof Klaeng Wittayasataworn School in the second semester of the 2019 academic year. The research instruments were the learning management plans in ratio, proportion and percentage, the mathematical problem solving process in ratio, proportion and percentage test with reliability of 0.70 and the mathematical learning achievement test with reliability of 0.60. The hypothesis were tested using t-test. The research revealed that 1) the mathematical problem solving capabilities on ratio, proportion and percentage of mathayomsuksa 1 student after using the 5E learning cycle with mathematical problem solving process was higher than 70 percentage criterion statistically significant at .01 level 2) the mathematical learning achievement on ratio, proportion and percentage of mathayomsuksa 1 student after using the 5E learning cycle with mathematical problem solving process was not higher than 70 percentage criterion statistically significant at .01 level.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineคณิตศาสตร์ศึกษา
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
58990125.pdf1.99 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น