กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10049
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorปรัชนันท์ เจริญอาภรณ์วัฒนา
dc.contributor.advisorระพิน ชูชื่น
dc.contributor.authorชัญญนิษฐ์ อินทร
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-09-18T07:44:05Z
dc.date.available2023-09-18T07:44:05Z
dc.date.issued2563
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10049
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
dc.description.abstractการศึกษาเรื่องปัญหาและความจำเป็นด้านการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษในการทำงานของพนักงานธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งในเขตเมืองพัทยา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับปัญหาและระดับความจำเป็นด้านการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษในการทำงาน วิธีการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษในการทำงานที่เหมาะสม เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างข้อมูลส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อปัญหา, ความจำเป็น และวิธีการพัฒนา หาความสัมพันธ์ระหว่างปัญหากับความจำเป็น โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พนักงานธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง ในเขตเมืองพัทยา จำนวน 80 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามการวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติสถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติในการทดสอบสมมติฐานใช้การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson Correlation) ผลการวิจัย พบว่า ระดับปัญหาการใช้ทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษในการทำงานในภาพรวมเฉลี่ยและรายด้าน มีปัญหาอยู่ในระดับมากโดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ ปัญหาการใช้ทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษในการทำงาน ด้านทักษะการฟัง (x̅ = 4.42, S.D. = 0.74) ด้านทักษะพูด (x̅ = 4.09, S.D. = 0.75) ด้านทักษะการเขียน (x̅ = 3.90, S.D. = 0.98) และด้านทักษะการอ่าน (x̅ = 3.49, S.D. = 1.14) ระดับความจำเป็นด้านการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษในการทำงานใน ภาพรวมเฉลี่ยและรายด้านทักษะการพูด ทักษะการเขียน และทักษะการอ่าน มีความจำเป็นอยู่ในระดับมากยกเว้นรายด้าน ทักษะการฟัง มีความจำเป็นอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ด้านทักษะการฟัง (x̅ = 4.59, S.D. = 0.71) ด้านทักษะพูด (x̅ = 4.37, S.D. = 0.72) ด้านทักษะการเขียน (x̅ = 4.22, S.D. = 0.81) และด้านทักษะการอ่าน (x̅ = 3.93, S.D. = 0.89) วิธีการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษในการทำงานที่เหมาะสม พบว่า พนักงานธนาคารมีความต้องการให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคลของบริษัทจัดหลักสูตรฝึกอบรม ทั้ง4 ทักษะอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบข้อมูลส่วนบุคคลกับปัญหาการใช้ทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ พบว่า ด้านเพศ ไม่แตกต่างกัน ส่วนข้อมูลส่วนบุคคลด้านอื่น ๆ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เปรียบเทียบข้อมูลส่วนบุคคลกับความจำเป็นด้านการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ พบว่า ข้อมูลส่วนบุคคลด้านอื่น ๆ ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านอายุแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เปรียบเทียบข้อมูลส่วนบุคคลกับความเห็นเกี่ยวกับวิธีการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ พบว่า ข้อมูลส่วนบุคคลด้านอื่น ๆ ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านความถี่ในการใช้ภาษาอังกฤษในการทำงานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การหาความสัมพันธ์ระหว่างปัญหากับความจำเป็นด้านการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษในการทำงาน พบว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ r = 0.744 ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัย คือ ด้านการวางแผนการจัดหลักสูตรฝึกอบรมให้กับพนักงานธนาคารโดยเฉพาะด้านทักษะการฟังองค์กรควรส่งเสริมสนับสนุน โดยการเน้นฝึกฝนการฟังเชิง ลึกเพื่อให้สามารถจับใจความสำคัญของบทสนทนา ตลอดจนสร้างความคุ้นเคยสำเนียงการพูดของลูกค้าชาวต่างชาติที่แตกต่างกัน
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectภาษาอังกฤษ -- การใช้ภาษา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
dc.subjectภาษาอังกฤษ -- การสื่อสาร
dc.titleปัญหาและความจำเป็นด้านการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษในการทำงานของพนักงานธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งในเขตเมืองพัทยา
dc.title.alternativeProblems nd needs for the development of english communiction skills of selected bnk stff in ptty city
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe study of problems and needs for the development of English communication skills of selected bank staff in Pattaya city. The purposes of this research were 1) to study the level of problems and needs for the development of English communication in the workplace, 2) the suitable guidelines for the development of English communication at work compared with the difference between personal information that affects the problem, and 3) the needs and guidelines for the developing relationship between problems and needs by the quantitative methodology research. The sample consisted of 80 selected bank staffs in Pattaya city by simple random sampling. The research instrument was a questionnaire. An analysis has been completed by a statistic analyzing program. The statistical data analysis was frequency, percentage, mean, and standard deviation. For the test hypothesis was using the Pearson Correlation method. The research result revealed that; the level of problems in the use of English communication skill in the workplace in overall and each aspect were at a high level, ranked in descending order of means as follows; problems in the use of English communication skill at work, listening skill (x̅=4.42, S.D.=0.74), speaking skill (x̅=4.09, S.D.=0.75), writing skill (x̅=3.90, S.D.=0.98), and reading skill (x̅=3.49, S.D.=1.14). The needs for the development of English communication at work in overall and each aspect in speaking, writing, and reading skill was at a high level of essential. Except, listening skill was at the highest level of essential, ranked in descending order of means as follows; listening skill (x̅=4.59, S.D.=0.71), speaking skill (x̅=4.37, S.D.=0.72), writing skill (x̅=4.22, S.D.=0.81), and reading skill (x̅=3.93, S.D.=0.89). The suitable guidelines for the development of English communication in the workplace found that bank staffs need the company’s human resource department to provide a training course for all four skills at a high level. The result of comparing personal information with the problems in the use of English communication skill found that gender had no difference, other personal information aspects were statistical differences at .05 level. Comparison of personal information and the needs for the development of English communication found that there were no differences in other personal information aspects. Except, age had significant differences at .05 level. The comparison of personal information and opinions of the guidelines for the development of English communication found that other personal information aspects had no differences. Except, the frequency in using the English language at work had significant differences at .05 level. The correlation between problems and the needs for the development of English communication in the workplace were at a positive correlation with statistically significant at .05 level. The correlation coefficients were at r=0.744 The recommendations for this research were a plan of the training course for bank staffs especially in the listening skill and the company should support in-depth listening practice to be able to capture the essence conversion as well as create the familiarity with the speaking accents of different foreign customers.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
61920265.pdf4.65 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น