กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10048
ชื่อเรื่อง: | ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้วัฎจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ II เรื่องยีนและโครโมโซมที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยาพฤติกรรมการทำงานกลุ่มและจิตวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The effects of 5es inquiry cycle with coopertive lerning with jigsw ii technique in chromosome nd genetic mteril on biologicl lerning chievement, group working behviors nd scientific mind of tenth grde students |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ธนาวุฒิ ลาตวงษ์ สมศิริ สิงห์ลพ ธนัชชา นวนกระโทก มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์ ชีววิทยา -- การศึกษาและการสอน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | ระบบลีนถูกนำมาใช้ในการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนให้องค์กรสามารถขจัดความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต การขนส่งและการใช้ทรัพยากรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ส่งผลให้เกิดการลดต้นทุน การเพิ่มผลิตภาพการผลิต ความสามารถในการแข่งขันและความยั่งยืนขององค์กรในปัจจุบันมีการพัฒนาระบบลีน 4.0 ขึ้น โดยปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาระบบ ได้แก่ การกำหนดนโยบายการสนับสนุนและติดตามผลจากผู้บริหาร รวมทั้งการสร้างบุคลากรที่มีความรู้ และวัฒนธรรมองค์กรแห่งลีน งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของปัจจัยสนับสนุนภายในองค์กรที่มีอิทธิพลต่อความสำ เร็จของระบบลีน 4.0 และ 2) ตรวจสอบและนำเสนอโมเดลเชิงสาเหตุของปัจจัยสนับสนุนภายในองค์กรที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการทำระบบลีน 4.0 ในอุตสาหกรรมยานยนต์ในพื้นที่โครงการเขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออกกลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีการทำระบบลีนหรือ ลีน 4.0 จำนวน 240 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบใช้วิจารณญาณ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และโมเดลสมการโครงสร้างผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยสนับสนุนภายในองค์กรที่มีอิทธิพลสูงสุด ได้แก่ การฝึกอบรมและถ่ายทอดความรู้ (TR) ส่วนปัจจัยความสำเร็จในการทำระบบลีน 4.0 ที่ได้รับอิทธิพลสูงสุด คือ การลดต้นทุนขององค์กร (CR) จากการวิเคราะห์โมเดลเชิงสาเหตุพบว่า ปัจจัยสนับสนุนภายในองค์กรที่มีอิทธิพลต่อความสำ เร็จของการทำระบบลีน 4.0 ในอุตสาหกรรมยานยนต์ในพื้นที่โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก มีความ สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ซึ่งผู้ประกอบการสามารถนำผลการวิจัยนี้เป็นแนวทางในการจัดลำดับความสำคัญเพื่อดำเนินงานตามแนวคิดของระบบลีนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10048 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
61910084.pdf | 6.52 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น