กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10036
ชื่อเรื่อง: ระบบการสื่อสารสุขภาพแบบภควันตภาพสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A ubiquitous helth communiction system for villge public helth volunteers in chonburi province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ทิพย์เกสร บุญอำไพ
นคร ละลอกน้ำ
สิธยา บุญเรือง
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: การสื่อสารทางการแพทย์
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา
วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนาระบบการสื่อสารสุขภาพแบบภควันตภาพ สําหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน (2) เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของระบบการสื่อสารสุขภาพ แบบภควันตภาพ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้านที่มีต่อระบบการสื่อสารสุขภาพแบบภควันตภาพ (4) ประเมินรับรองระบบการสื่อสารสุขภาพแบบภควันตภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) ผู้เชี่ยวชาญ จํานวน 10 คน ด้านเทคโนโลยีการศึกษา ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และด้านงานคุ้มครองผู้บริโภค (2) อาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้านในจังหวัดชลบุรี ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น และเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จากผู้ที่สมัครใจ จํานวน 30 คน (3) ผู้ทรงคุณวุฒิในการประเมินและรับรองระบบ การสื่อสารสุขภาพแบบภควันตภาพ จํานวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) ระบบการสื่อสารสุขภาพแบบภควันตภาพสําหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้านจังหวัดชลบุรี (2) แบบทดสอบก่อนและหลังการใช้ระบบ ฯ (3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อระบบการสื่อสารสุขภาพแบบภควัตภาพฯ และ (4) แบบประเมินและรับรองระบบการสื่อสารสุขภาพแบบภควันตภาพ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน E1 / E2 และ t-test แบบ Dependent samples ผลการวิจัยพบว่า 1. ระบบการสื่อสารสุขภาพแบบภควันตภาพสําหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน จังหวัดชลบุรี ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) บริบท 2) ผู้ส่งสาร 3) เนื้อหาสาร 4) ช่องทางการสื่อสารสุขภาพ 5) ผู้รับสารและ 6) การประเมินผล 2. ผลการทดสอบประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมตามระบบการสื่อสารสุขภาพแบบภควันตภาพ สําหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน E1/ E2 เท่ากับ 80.72/ 82.5 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/ 80 3. ความพึงพอใจของอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้านที่มีต่อระบบการสื่อสารสุขภาพ แบบภควันตภาพ สําหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด 4. ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินรับรองระบบการสื่อสารสุขภาพแบบภควันตภาพ สําหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน อยู่ในระดับมากที่สุด
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10036
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:I-thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
58810206.pdf3.42 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น