กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10035
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorเพ็ญนภา กุลนภาดล
dc.contributor.advisorประชา อินัง
dc.contributor.authorมณีนุช รองพล
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-09-18T07:44:01Z
dc.date.available2023-09-18T07:44:01Z
dc.date.issued2563
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10035
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการฟื้นคืนทางอารมณ์ของนักศึกษาที่ครอบครัวได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ 2) เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการปรึกษาเชิงบูรณาการที่มีต่อการฟื้นคืนทางอารมณ์ของนักศึกษาที่ครอบครัวได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักศึกษาที่ครอบครัวได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการฟื้นคืนทางอารมณ์ได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายจากนักศึกษา จำนวน 420 คน กลุ่มที่ 2 คัดเลือกโดยการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจงจากนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา จำนวน 30 คน เป็นกลุ่มทดลอง 2 กลุ่ม และกลุ่มควบคุม 1 กลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบวัดการฟื้นคืนทางอารมณ์ 2) รูปแบบการปรึกษาเชิงบูรณาการ ซึ่งประกอบไปด้วย 2.1) รูปแบบการปรึกษาเชิงบูรณาการรายบุคคลโดยใช้ทฤษฎีการปรึกษาพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม เป็นฐานดำเนินการ จำนวน 12 ครั้งครั้งละ 60-90 นาที 2.2) รูปแบบการปรึกษาผ่านสื่อสังคมออนไลน์ทฤษฎีเน้นทางออกระยะสั้นดำเนินการ จำนวน 8 ครั้งครั้งละ 60-90 นาที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. โมเดลเส้นทางปัจจัยที่ส่งผลต่อการฟื้นคืนทางอารมณ์ของนักศึกษาที่ครอบครัวได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยตัวแปรการฟื้นคืนทางอารมณ์ได้รับอิทธิพลทางตรงจากตัวแปรการเห็นคุณค่า ในตนเอง การควบคุมตนเอง การสนับสนุนทางสังคม และการมองโลกในแง่ดีซึ่งมีขนาดอิทธิพลทางตรงเท่ากับ 0.22, 0.25, 0.11 และ 0.33 ตามลำดับ และตัวแปรการเห็นคุณค่าในตนเองการควบคุมตนเองการสนับสนุนทางสังคม และการมองโลกในแง่ดีร่วมกันทำนายตัวแปรการฟื้นคืนทางอารมณ์ ได้ร้อยละ 58 2. การศึกษาผลของรูปแบบการปรึกษาเชิงบูรณาการที่มีต่อการฟื้นคืนทางอารมณ์ของนักศึกษาที่ครอบครัวได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ มีดังนี้ 2.1 นักศึกษาที่ได้รับรูปแบบการปรึกษาเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิคโดยมีทฤษฎี พิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรมเป็นฐาน มีค่าเฉลี่ยคะแนนการฟื้นคืนทางอารมณ์ในระยะหลังการทดลองและระยะการติดตามผลสูงขึ้นกว่าระยะก่อนการทดลอง 2.2 นักศึกษาที่ได้รับรูปแบบการปรึกษาเชิงบูรณาการผ่านสื่อสังคมออนไลน์แนวคิด ทฤษฎีการปรึกษาเน้นทางออกระยะสั้น มีค่าเฉลี่ยคะแนนการฟื้นคืนทางอารมณ์ในระยะหลังการทดลองและระยะการติดตามผลสูงขึ้นกว่าระยะก่อนการทดลอง 2.3 นักศึกษาที่ได้รับรูปแบบการปรึกษาเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิคโดยมีทฤษฎี พิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรมเป็นฐาน มีคะแนนการฟื้นคืนทางอารมณ์สูงกว่ากลุ่มควบคุม 2.4 นักศึกษาที่ได้รับรูปแบบการปรึกษาเชิงบูรณาการผ่านสื่อสังคมออนไลน์แนวคิด ทฤษฎีการปรึกษาเน้นทางออกระยะสั้น มีคะแนนการฟื้นคืนทางอารมณ์สูงกว่ากลุ่มควบคุม
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectการก่อการร้าย -- แง่ศาสนา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา
dc.subjectการก่อการร้าย -- ไทย (ภาคใต้)
dc.subjectวิทยานิพนธ์ ?aปริญญาเอก
dc.titleการเสริมสร้างการฟื้นคืนทางอารมณ์ของนักศึกษาที่ครอบครัวได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ด้วยรูปแบบการปรึกษาเชิงบูรณาการ
dc.title.alternativeThe enhncement of emotionl resilience of undergrdute students whose fmilies were ffected by the unrest sitution in the southern border provinces through integrtive counseling model
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were; 1) to study the emotional resilience path model of undergraduate students whose families were affected by the unrest situation in the Southern Border Provinces, 2) to evaluate the effectiveness of the integrative individual counseling model in enhancing emotional resilience of students. The samples were undergraduate students whose families were affected by the unrest situation in the Southern Border Provinces. The study consisted of 2 phases: Phase 1 the sample was 420 students who were randomly selected to study path model emotional resilience. Phase 2 the sample was 30 students who were purposively selected from students at Songkhla Rajabhat University. They were randomly assigned into three groups, two experiment groups and a control group. The research instruments were; 1) emotional resilience scale, 2) the integrative individual counseling model to emotional resilience consisted of; 2.1) integrative counseling model based on Rational Emotive Behavior Theory, 12 sessions of 60-90 minutes each. 2.2) the social media counseling model based on Solution-Focused Brief Therapy, 8 sessions of 60-90 minutes each. The research results were as follows: 1. The study path model of emotional resilience of students; the emotional resilience path model is in line with the empirical data with the variables of self-esteem, self-control, social support and optimism were directly affected emotional resilience at 0.22, 0.25, 0.11 and 0.33 respectively. All variables helped predicting the emotional resilience variable at 58 percent. 2. The results of the implementation of the integrative counseling model; 2.1 The students’ emotional resilience after participating in the integrative counseling model and after the follow-up based on Rational Emotive Behavior Theory were significantly higher than the pre-test. 2.2 The students’ emotional resilience after participating in the social media counseling model and after the follow-up based on Solution-Focused Brief Therapy were significantly higher than the pre-test. 2.3 The students’ emotional resilience after participating in the integrative counseling model and after the follow-up based on Rational Emotive Behavior Theory were significantly higher than the control group. 2.4 The students’ emotional resilience after participating in the social media counseling model, and after the follow-up based on Solution-Focused Brief Therapy were significantly higher than the control group.
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineจิตวิทยาการปรึกษา
dc.degree.nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:I-thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
58810190.pdf4.93 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น