กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10020
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Fctors relted to lcohol drinking femle senior high school students, chon buri province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ
รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์
ศิริลักษณ์ สุวรรณวงษ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย -- การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวัยรุ่นหญิงมีแนวโน้มสูงขึ้น จึงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในสังคมไทยปัจจุบัน การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจังหวัดชลบุรี จำนวน 373 คน ซึ่งได้มาด้วยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ความเครียด การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการปฏิเสธการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทัศนคติต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์การเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์การรับรู้ การโฆษณาของสื่อการรับรู้กฎระเบียบเกี่ยวกับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2562 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 67.8 มีประสบการณ์การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และร้อยละ 32.2 ไม่เคยดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เลยในช่วงชีวิตที่ผ่านมาและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ความเครียด (AOR = 2.15, 95% CI = 1.29-3.58)การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการปฏิเสธการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (AOR = 2.60, 95% CI = 1.58-4.29) การเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (AOR = 1.69, 95% CI = 1.01-2.82) การถูกชักชวนให้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (AOR = 1.84, 95% CI = 1.01-3.36) การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของบิดามารดา (AOR = 2.09, 95% CI = 1.16-3.78) ส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาทัศนคติต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์การมีเพื่อนสนิทดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์การรับรู้การโฆษณาของสื่อและการรับรู้ กฎระเบียบเกี่ยวกับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่มีความสัมพันธ์กับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลและบุคลากรสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องในสถานศึกษา ควรนำผลวิจัยไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนากิจกรรมเพื่อลดพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียน โดยเน้นเรื่องการรับรู้สมรรถนะแห่งตน การเข้าถึงการถูกชักชวนให้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10020
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
60920056.pdf2.1 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น