กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10020
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ | |
dc.contributor.advisor | รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์ | |
dc.contributor.author | ศิริลักษณ์ สุวรรณวงษ์ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-09-18T07:43:57Z | |
dc.date.available | 2023-09-18T07:43:57Z | |
dc.date.issued | 2563 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10020 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563 | |
dc.description.abstract | การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวัยรุ่นหญิงมีแนวโน้มสูงขึ้น จึงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในสังคมไทยปัจจุบัน การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจังหวัดชลบุรี จำนวน 373 คน ซึ่งได้มาด้วยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ความเครียด การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการปฏิเสธการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทัศนคติต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์การเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์การรับรู้ การโฆษณาของสื่อการรับรู้กฎระเบียบเกี่ยวกับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2562 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 67.8 มีประสบการณ์การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และร้อยละ 32.2 ไม่เคยดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เลยในช่วงชีวิตที่ผ่านมาและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ความเครียด (AOR = 2.15, 95% CI = 1.29-3.58)การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการปฏิเสธการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (AOR = 2.60, 95% CI = 1.58-4.29) การเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (AOR = 1.69, 95% CI = 1.01-2.82) การถูกชักชวนให้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (AOR = 1.84, 95% CI = 1.01-3.36) การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของบิดามารดา (AOR = 2.09, 95% CI = 1.16-3.78) ส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาทัศนคติต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์การมีเพื่อนสนิทดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์การรับรู้การโฆษณาของสื่อและการรับรู้ กฎระเบียบเกี่ยวกับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่มีความสัมพันธ์กับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลและบุคลากรสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องในสถานศึกษา ควรนำผลวิจัยไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนากิจกรรมเพื่อลดพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียน โดยเน้นเรื่องการรับรู้สมรรถนะแห่งตน การเข้าถึงการถูกชักชวนให้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย -- การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ | |
dc.subject | เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน | |
dc.title | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจังหวัดชลบุรี | |
dc.title.alternative | Fctors relted to lcohol drinking femle senior high school students, chon buri province | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | Alcohol drinking among female high school trends to increase, is still an important public health problem in Thai society. This research aimed to identify factors related to alcohol drinking among female senior high school students, Chon Buri province. Three hundred and seventy three female senior high school students in Chon Buri province were recruited using the simple random technique. Research instruments included questionnaires to gather data for demographic information, alcohol drinking, stress, alcohol drinking refusal self-efficacy, attitude towards alcohol drinking, accessing to alcoholic beverages, perceived media advertising, and perceived alcohol drinking regulation. Data were collected in August, 2019. Descriptive statistics and Binary logistic regression analysis were used to analyze the data. The results revealed that67.8 percent of female senior high school students had ever experienced in drinking alcohol and 32.2 percent had not drunk alcohol in the past life. The significant factors related to alcohol drinking among female senior high school was stress (Adjusted Odds Ratio [AOR] = 2.15, 95% CI= 1.29-3.58), alcohol drinking refusal self-efficacy (AOR = 2.60, 95% CI = 1.58-4.29), accessing to alcoholic beverages (AOR = 1.69, 95% CI = 1.01-2.82 ), offers of alcohol drinking (AOR = 1.84, 95% CI = 1.01-3.36), alcohol drinking of parental (AOR = 2.09, 95% CI = 1.16-3.78). While academic success, attitude towards alcohol drinking, peer alcohol drinking, perceived media advertising and perceived alcohol drinking regulation were not significantly related to alcohol drinking. The findings suggested that nurses and other health care providers who are responsible for students in schools could apply these results to develop activities/ programs to reduce alcohol drinking behavior among high school students by focusing on their self-efficacy, accessing, and offers of alcohol drinking | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน | |
dc.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
60920056.pdf | 2.1 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น