กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10013
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันกลุ่มอาการผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและโครงสร้างกระดูกของญาติผู้ดูแลคนพิการทางการเคลื่อนไหว |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Fctors influencing preventive behviors ginst musculoskeletl disorders mong fmily cregivers of persons with physicl disbility |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ วรรณรัตน์ ลาวัง สริน สมใจ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน ระบบกล้ามเนื้อและโครงกระดูก |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | กลุ่มอาการผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและโครงสร้างกระดูกเป็นปัญหาสุขภาพสำคัญในญาติผู้ดูแลคนพิการทางการเคลื่อนไหวที่จำเป็นต้องมีพฤติกรรมการป้องกันที่เหมาะสม การวิจัยเชิงพรรณนาแบบความสัมพันธ์เชิงทำนายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันกลุ่มอาการผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและโครงสร้างกระดูกของญาติผู้ดูแลคนพิการทางการเคลื่อนไหว และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกัน ดังกล่าวกลุ่มตัวอย่างเป็นญาติผู้ดูแลคนพิการทางการเคลื่อนไหวที่อาศัยอยู่ในจังหวัดชลบุรี จำนวน 200 คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2562-เดือนมกราคม พ.ศ. 2563 โดยใช้ แบบสัมภาษณ์ที่มีข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐาน ความรู้เกี่ยวกับการป้องกัน (มีค่า KR 20 เท่ากับ 0.80) ทัศนคติต่อการป้องกันการเข้าถึงบริการสุขภาพ การได้รับการสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมการป้องกัน (มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคระหว่าง 0.82-0.96) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการป้องกันการเกิดกลุ่มอาการผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและโครงสร้างกระดูกในภาพรวม ด้านจัดการความเครียด และด้านการปรับเปลี่ยนท่าทางอยู่ในระดับสูงส่วนพฤติกรรมด้านการออกกำลังกายและด้านการบริหารกล้ามเนื้ออยู่ในระดับปานกลาง ตัวแปรการได้รับการสนับสนุนทางสังคม ความรู้ในการป้องกัน และทัศนคติต่อการป้องกัน มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันฯ โดยสามารถร่วมกันอธิบายพฤติกรรมการป้องกันฯ ได้ร้อยละ 42.6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (R 2 = 0.426, F = 5.881,p< 0.05) ดังนั้น พยาบาลและบุคลากรที่เกี่ยวข้องควรพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันในกลุ่มญาติผู้ดูแลคนพิการทางการเคลื่อนไหวโดยเพิ่มการสนับสนุนจากเครือข่ายทางสังคม การให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกัน ตลอดจนการเพิ่มทัศนคติที่ดีต่อการป้องกัน จะทำให้ญาติผู้ดูแลมีสุขภาพที่ดีและสามารถดำรงบทบาทการดูแล นำมาซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งญาติผู้ดูแลและคนพิการต่อไป |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10013 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
58920239.pdf | 1.93 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น