กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10012
ชื่อเรื่อง: | ผลของโปรแกรมการพัฒนาความเชื่อด้านสุขภาพของผู้ปกครองต่อการรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ในเด็กวัยก่อนเรียนที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Effects of helth belief development progrm mong prents on perceptions nd hnd, foot, mouth disese preventive behviors for pre school-ged children in child development center |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สมสมัย รัตนกรีฑากุล สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ นาฎอนงค์ แฝงพงษ์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
คำสำคัญ: | โรคมือ เท้า ปาก -- การป้องกันและควบคุม การดูแลเด็ก มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | โรคมือเท้าปากเป็นโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่เป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญจำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเพื่อการแก้ไขปัญหาการศึกษากึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพัฒนาความเชื่อด้านสุขภาพของผู้ปกครองต่อการรับรู้ และพฤติกรรมการป้องกันโรคมือเท้าปาก ในเด็กวัยก่อนเรียนที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ปกครองเด็กวัยก่อนเรียนที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีอายุ 21-59 ปี จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วยเครื่องมือการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมความเชื่อด้านสุขภาพ วีดิทัศน์คู่มือปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกันโรคและเครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chi-Square Fisher’s exact test และ Independent t-test ผลการศึกษาพบว่า หลังการทดลองกลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ยการรับรู้โอกาสเสี่ยง และการรับรู้ความรุนแรงของโรคระดับมาก (M = 4.36, SD = 0.46; M = 4.50, SD = 0.38) ค่าเฉลี่ยการรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันโรคระดับมากที่สุด (M = 4.63, SD = 0.31) ค่าเฉลี่ยการรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันโรคระดับน้อยที่สุด (M = 1.42, SD =0.34) และมีการปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกันโรคมือเท้าปากเป็นประจำ (M = 2.66, SD = 0.21) กลุ่มทดลองมีการเปลี่ยนแปลงการรับรู้ โอกาสเสี่ยงการรับรู้ความรุนแรงของโรคการรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกันโรค พฤติกรรมการป้องกันโรคมือเท้าปากมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 2.370, p = .010, t = 2.158, p = .018, t = 1.935, p = .029 และ t = 2.160, p = .017 ตามลำดับ) และมีการเปลี่ยนแปลงการรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกันโรคลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -3.083, p = .002) ผลการศึกษานี้พยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน บุคลากรสุขภาพ และผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือครูผู้ดูแลศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก นำไปใช้เป็นแนวทางในการป้องกันโรคมือเท้า ปากในเด็กวัยก่อนเรียน |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10012 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
58920237.pdf | 2.66 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น