กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10004
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ยุพิน ถนัดวณิชย์ | |
dc.contributor.advisor | วัลภา คุณทรงเกียรติ | |
dc.contributor.author | พัชรี สังข์สี | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-09-18T07:43:54Z | |
dc.date.available | 2023-09-18T07:43:54Z | |
dc.date.issued | 2563 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10004 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563 | |
dc.description.abstract | การตัดสินใจเลือกวิธีบำบัดทดแทนไตมีความสำคัญต่อผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย เนื่องจากการเลือกวิธีบำ บัดทดแทนไตที่เหมาะสมกับบริบทองค์รวมของผู้ป่วยสามารถคงไว้ซึ่งการรักษาอย่างต่อเนื่อง และการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยการวิจัยเชิงพรรณนาสหสัมพันธ์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการตัดสินใจเลือกวิธีบำบัดทดแทนไต และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกวิธีบำบัดทดแทนไตของกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการวินิจฉัยจากอายุรแพทย์โรคไต โรงพยาบาลสระบุรี และจำเป็นต้องมีแผนการรักษาด้วยการบำบัดทดแทนไต กลุ่มตัวอย่างที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดได้รับ การคัดเลือกด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 82 ราย เครื่องมือที่ถูกนำมาใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อ มูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินความหวังต่อการบำบัดทดแทนไต 3) แบบประเมินความชอบต่อวิธีบำบัดทดแทนไต 4) แบบประเมินความสามารถในการเข้ารับบริการบำบัดทดแทนไต 5) แบบประเมินทัศนคติของผู้ป่วยต่อการบำบัดทดแทนไต และ 6) แบบประเมินการตัดสินใจเลือกวิธีบำบัดทดแทนไต และมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ .82, .80, .85, .82 และ .82 ตามลำดับ ข้อมูลจากการวิจัยถูกวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายส่วนใหญ่มีการตัดสินใจเลือกวิธีบำบัดทดแทนไตอยู่ระดับสูง (X = 40.59, SD = 2.02) และพบว่า ความหวังต่อการบำบัดทดแทนไต ความชอบต่อวิธีบำบัดทดแทนไต และความสามารถในการเข้ารับบริการบำ บัดทดแทนไตมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการตัดสินใจเลือกวิธีบำบัดทดแทนไตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r= .32, r= .29, r= 34; p< .01 ตามลำดับ) ในส่วนของทัศนคติของผู้ป่วยต่อการบำบัดทดแทนไตไม่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกวิธีบำบัดทดแทนไต (r= -.01; p > .05 ) สรุปได้ว่า ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายมีความสามารถในการตัดสินใจเลือกวิธีบำบัดทดแทนไตด้วยตนเอง พยาบาลวิชาชีพและบุคลากรด้านสุขภาพควรมีการสนับสนุนความรู้เกี่ยวกับการเจ็บป่วยและวิธีบำบัดทดแทนไตเพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความเข้าใจและมีความชอบต่อวิธีบำบัดทดแทนไตที่ตนเองเลือก และสุดท้ายต้องส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีความหวังในการดำเนินชีวิตแม้ว่าต้องเข้ารับการรักษาด้วยวิธีบำบัดทดแทนไต | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | ไต -- โรค -- ผู้ป่วย | |
dc.subject | ไต -- มะเร็ง | |
dc.subject | โรคเรื้อรัง | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ | |
dc.title | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกวิธีบำบัดทดแทนไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย | |
dc.title.alternative | Fctors relted to self-determintion of ptients with endstge renl diseses to select dilysis modlities | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | Determining among dialysis modalities is important for patients with end-stage renal disease (ESRD) because suitable dialysis modalities, in these patients’ holistic contexts, can maintain not only continuous treatment but also quality of life. This correlational descriptive study aimed to examine self-determination to select dialysis modality among ESRD patients and its factors (hope, preference, accessibility, and patient’s attitudes) affecting dialysis modality self-determination. The sample was persons diagnosed with ESRD by the nephrologists of Saraburi hospital who had to be treated with renal replacement therapies and who met the inclusion criteria. Eighty-two subjects were selected by simple random sampling. Six instruments were used to collect data: Personal Data questionnaires (General Personal Data and Clinical Data), Hope toward Dialysis Modalities questionnaire, Preference toward Dialysis Modalities questionnaire, Accessibility to Dialysis Service questionnaire, Patient Attitude toward dialysis modalities questionnaire, and Intrinsic Motivation Inventory.Five of them were tested for reliability and yielded Cronbach’s alpha coefficient values of .82, .80, .85, .82, and .82 respectively. The data were analyzed via descriptive statistics and Pearson’s product moment correlation coefficients. The results of this study showed that most of the sample had a high level of self-determination to select their dialysis modality ( = 40.59, SD = 2.02). Also, factors of hope, preference, and accessibility regarding dialysis modalities were significantly related to self-determination to select dialysis modalities of ESRD patients (r = .32, r = .29, andr= 34; p< .01, respectively). In summary, ESRD patients themselves could make self-determination to select their dialysis modalities. Professional nurses and other healthcare personnel should support providing knowledge to these patients relating to ESRD and renal replacement therapies in order for patients to understand and appropriately choose their renal replacement therapies. This should promote hope for optimal quality of their lives even though patients know they will survive only with renal replacement therapies. | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | การพยาบาลผู้ใหญ่ | |
dc.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
58910085.pdf | 2.54 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น