Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความขัดแย้งทางวาทกรรมระหว่างการแพทย์แผนปัจจุบัน การแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือก เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ในแนวทางวิธีวิทยาทางเศรษฐศาสตร์การเมือง แนวประวัติศาสตร์และการวิเคราะห์วาทกรรมเชิงวิพากษ์มีลักษณะวิพากษ์ข้อมูลไปสู่กระบวนการวิเคราะห์จากการตีความระหว่างบริบทกรอบการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกควบคู่กับการสังเกตการณ์สัมผัส ผลการวิจัยพบว่า การแพทย์แผนปัจจุบันใช้ปฏิบัติการทางวาทกรรมเพื่อสถาปนาอำนาจนำให้กับฝ่ายตนเอง ในการปฏิรูปการแพทย์วิเคราะห์ได้ 5 องค์ประกอบ คือ 1. สถาปนาตนเองด้วยระบบวิทยาศาสตร์ 2. ใช้สถาบันการศึกษาเป็นตัวกำหนดผู้เชี่ยวชาญ 3. ปฏิรูประบบราชการ 4. การพัฒนาเทคโนโลยีและการแพทย์ 5. การบัญญัติกฎหมายจากองค์ประกอบทั้ง 5 ประการนี้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสังคมไทยทั้งระบบรวมถึง เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมคนในสังคมให้เชื่อฟัง “คำสั่ง” ของแพทย์แผนปัจจุบันในการอธิบายปฏิบัติการทางวาท กรรมโดยใช้ “รัฐ” เป็นเครื่องมือในการครอบงำกดทับกีดกันการแพทย์แผนไทยโดยพบว่า ปฏิบัติการทางวาท กรรมมีการตอบโต้ 6 องค์ประกอบ คือ 1. การตอบโต้ด้วยประวัติศาสตร์การแพทย์แผนไทย 2. การชำระตำรายา ไทย 3. การสร้างระบบการศึกษา 4. การกำหนดผู้เชี่ยวชาญในระบบราชการ 5. การสร้างนวัตกรรมยาไทย 6. การ บัญญัติกฎหมายองค์ประกอบทั้ง 6 สามารถยึดโยงปฏิบัติการทางวาทกรรมต่อการแพทย์ทางเลือกโดยพบว่า 1. การต่อต้านความเป็นวิทยาศาสตร์ของการแพทย์แผนปัจจุบัน 2. การสร้างองค์ความรู้ผ่านวิธีการรักษาโรคแบบ องค์รวมของการแพทย์ทางเลือก 3. ปฏิบัติการทางวาทกรรมผ่านการสร้างนวัตกรรมทางสุขภาพ 4. ปฏิบัติการทางวาทกรรมในบริบทการใช้นโยบายของรัฐบาลเพื่อสร้างพื้นที่ทางสังคม 5. การสร้างความชอบธรรมผ่าน ปฏิบัติการทางกฎหมายโดยส่งผลต่อการต่อสู้กัน พบว่า มี 3 องค์ประกอบ คือ 1. การต่อสู้ระหว่างการแพทย์แผนปัจจุบันกับการแพทย์แผนไทย 2. การต่อสู้ระหว่างการแพทย์แผนปัจจุบันกับการแพทย์ทางเลือก 3. การต่อสู้ของการแพทย์แผนไทยกับการแพทย์ทางเลือกโดยทั้ง 3 องค์ประกอบส่งผลต่อตลาดยาโดยมีการเปลี่ยนแปลงทาง สังคมการเมืองผ่านการปฏิรูปการแพทย์ผ่านระบบสุขภาพในระดับการพัฒนาแล้วทางวัฒนธรรม